Page 154 - kpiebook65062
P. 154

สรุป : สถาปัตยกรรมคลาสสิคในสยาม



                            สถาปัตยกรรมรูปแบบคลาสสิคในสมัยรัชกาลที่ ๗ พบในอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้น
                      ความสำคัญ ความสง่างาม และความประณีต ทั้งในโครงการของรัฐ (ศาลาอำนวยการ ศิริราชพยาบาล
                      โรงแรมราชธานี สถานอัครราชทูตอังกฤษ) และโครงการของภาคเอกชน (ห้างบอร์เนียว โรงแรม

                      โทรคาเดโร ห้างบีกริม) อาคารเกือบทุกหลังมีผังแบบสมมาตร (symmetrical plan) เน้นแนวแกน
                      (axis) บริเวณมุขกลางอาคาร ที่ส่งเสริมความสง่างามของอาคาร ตรงตามหลักการในการออกแบบของ

                      สถาบันเอโกล เดส์ โบซาร์ต  มีข้อยกเว้นเพียงอาคารโรงแรมราชธานี เพราะเป็นอาคารใหม่ที่สร้าง
                      ต่อเนื่องไปจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หลังเดิม จึงมีผังแบบอสมมาตร (asymmetrical plan)
                      ที่ตอบสนองต่อหน้าที่ใช้สอยอันหลากหลาย ทั้งในฐานะโรงแรม ภัตตาคาร ตลอดจนที่ทำการไปรษณีย์


                            อาคารเหล่านี้มีโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทันสมัย บางหลังซ่อนโครงสร้างนั้นไว้ภายใต้
                      เปลือกอาคารที่มีเครื่องตกแต่งประดับประดาอย่างสถาปัตยกรรมคลาสสิค ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ

                      อาคารโรงแรมโทรคาเดโร ที่สถาปนิกเลือกองค์ประกอบเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมคลาสสิคมา “ผูก”
                      ขึ้นเป็นแบบอย่างใหม่ ลดทอนรายละเอียดบางอย่าง หรือจงใจ “แผลง” การใช้เครื่องตกแต่งให้ต่าง

                      ออกไปจากแบบอย่างมาตรฐาน ขณะที่อาคารหลายหลังเริ่มแสดงศักยภาพของโครงสร้าง
                      คอนกรีตเสริมเหล็กออกมาในรูปทรงภายนอก เช่น แผงกันแดดเป็นแผ่นบางของโรงแรมราชธานี
                      สถานอัครราชทูตอังกฤษ ศาลาอำนวยการ ศิริราชพยาบาล พระตำหนักทรงพรตและหอสหจร

                      วัดบวรนิเวศวิหาร  และการทำระเบียง (balcony) ยื่นออกมาจากตัวอาคาร ดังปรากฏที่อาคารโรงแรม
                      ราชธานีและโรงแรมโทรคาเดโร เป็นต้น อนึ่ง นอกจากโครงสร้างที่ทันสมัยแล้ว ลักษณะร่วมอีก

                      ประการหนึ่ง คือการออกแบบอาคารให้เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อนชื้น ดังปรากฏในการวาง
                      รูปทรงอาคารให้รับลมเต็มที่ การทำกันสาดและชายคายื่นยาว การทำช่องเปิดประตูหน้าต่างขนาดใหญ่
                      เพื่อส่งเสริมการถ่ายเทอากาศภายใน เป็นอาทิ


                            สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคลดทอนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็น
                      ตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงในรสนิยมทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับพัฒนาการเชิงเทคนิค
                      วิทยาการก่อสร้าง ของช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชกาลพระบาท

                      สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มิได้มีนัยทางการเมืองการปกครอง หรือความหมายในเชิงสัญลักษณ์
                      พิเศษ เป็นเพียงรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สง่างาม มั่นคง มีผังอาคารตรงไปตรงมา มีรูปร่างของพื้นที่ว่างที่ดี

                      รายละเอียดส่วนประณีตสถาปัตยกรรมที่พอเหมาะ และเป็นที่คุ้นเคยของสาธารณชน ผสมผสาน
                      ความสง่างามของภาษาสถาปัตยกรรมคลาสสิค เข้ากับเทคนิควิทยาการก่อสร้างสมัยใหม่ได้อย่าง
                      พอเหมาะพอดี




                                                                                                            1
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159