Page 145 - kpiebook65057
P. 145

3.1   กระบวันการ

                     และขั�นตอนการดำาเนินงาน



                     1. การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งเป็นข้อมูลเชิงปฐมภูมิและข้อมูล

            ทุติยภูมิ


                     1.1  ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)


                           1.1.1  การจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Focus
            Group) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เช่น เยาวชน ภาคประชาสังคม, เอ็นจีโอ, สภาองค์กร

            ชุมชน, ผู้นำชุมชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงวัย นักวิชาการในพื้นที่ นักการเมืองท้องถิ่น
            ผู้ปกครองในท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งแบ่งได้ทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่

            กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครพนม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดพะเยา
            จังหวัดลำปาง จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎ์ธานี


                           1.1.2 สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
            ภาคพลเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการสัมภาษณ์กลุ่ม (group interview)

            ประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้หญิง


                           1.1.3 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิรายบุคคล


                     1.2  ข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary  Data)  รวบรวมข้อมูลสถิติที่มี

            การศึกษา และสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมทางการเมือง
            การปกครอง วัฒนธรรม สังคม นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิเพื่อทำการ
            คาดการณ์แนวโน้มและออกแบบฉากทัศน์การเมืองภาคพลเมืองในอนาคต ข้อมูล

            ทุติยภูมิได้มาจากการสำรวจของสถาบันพระปกเกล้าในรายงาน (World Value
            Survey, Asian Barometer, ISSP) และข้อมูลสถิติต่าง ๆ จากหน่วยงานของรัฐ รวมถึง

            ทำการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภาคพลเมือง





                                               90
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150