Page 4 - kpiebook65055
P. 4

4       การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด






                                                                                      ค�ำน�ำ























                      รายงานฉบับนี้มุ่งความประสงค์ที่จะให้ข้อมูลเชิงวิชาการด้านกฎหมายเกี่ยวกับ
             สิทธิในอากาศสะอาด ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื่องจาก

             ภาวะมลพิษทางอากาศทั่วโลกย�่าแย่ลงอย่างมาก รวมถึงประเทศไทยที่ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่น
             PM 2.5 มาเป็นระยะที่ต่อเนื่องมาหลายปี โดยรายงานฉบับนี้จะได้ศึกษาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

             สิทธิดังกล่าวทั้งในระดับระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
             ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอากาศสะอาดหลายฉบับเข้าสู่การพิจารณา

             ของสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องวิเคราะห์ว่ามีความจ�าเป็นหรือไม่ที่จะมีกฎหมายดังกล่าวเป็นการเฉพาะ
             แยกต่างหากออกมาจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติ

             ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการควบคุม
             มลพิษในหมวด 4 ส่วนที่ 4 มลพิษทางอากาศและเสียงใช้บังคับอยู่แล้ว


                      การศึกษาประกอบไปด้วยแนวคิดและหลักการว่าด้วยสิทธิในอากาศสะอาด ซึ่งถือว่าเป็น

             สิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่งที่รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองและเคารพ นอกจากนั้นยังได้ศึกษาประเด็น
             กฎหมายทั้งภายในและต่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมมาตรฐานคุณภาพอากาศ

             ที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย และได้วิเคราะห์ถึงกฎหมายไทยที่มีอยู่
             ในปัจจุบันว่าเพียงพอแล้วหรือไม่ส�าหรับการก�ากับดูแลมาตรฐานคุณภาพอากาศ หากไม่เพียงพอควร

             จะต้องปรับปรุงกฎหมายอย่างไร การตราเป็นพระราชบัญญัติฉบับใหม่มีความจ�าเป็นหรือไม่ อีกทั้ง
             ยังได้ให้ข้อเสนอแนะและตั้งข้อสังเกตทั้งทางกฎหมายและทางนโยบายเพื่อพัฒนาระบบก�ากับดูแล

             มาตรฐานคุณภาพอากาศโดยค�านึงถึงแนวปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศและข้อเสนอแนะขององค์การ
             ระหว่างประเทศเพื่อสมาชิกรัฐสภาได้มีข้อมูลพิจารณาแนวทางในการออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย

             ต่อไป


                                                         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล
                                                      คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                                                                   สิงหาคม พ.ศ. 2565
   1   2   3   4   5   6   7   8   9