Page 3 - kpiebook65055
P. 3
3
ค�ำน�ำสถำบันพระปกเกล้ำ
ปัญหามลพิษทางอากาศ เป็นปัญหาที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประเทศที่มีการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยการพึ่งพาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งจะมีการปล่อยมลพิษ
ออกสู่ระบบนิเวศเป็นอย่างมาก ส่วนประเทศไทยก็ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศเหมือนๆ กับ
หลายๆ ประเทศทั่วโลก ทั้งปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เป็นต้น
แม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการแก้ไขปัญหา และการป้องกันจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ก็ยังไม่สามารถ
ที่จะแก้ไขปัญญาให้หมดสิ้นไปได้ อีกทั้งยังไม่ได้มีการออกกฎหมายมารองรับเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาให้เป็น
รูปธรรมที่ชัดเจนมากนัก ดังนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และภาคประชาชน เห็นว่าสิทธิอากาศสะอาศ
เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่ควรจะได้รับ จึงได้มีการเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา ซึ่งอยู่ในระหว่าง
การรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 และภาคประชาชนรวบรวมรายชื่อเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดให้มีการศึกษาเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมาย
และกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด” ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
ซึ่งศึกษาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล อาจารย์ประจ�าคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์ โดยการศึกษาประกอบไปด้วยแนวคิดและหลักการว่าด้วยสิทธิในอากาศสะอาด
ประเด็นกฎหมายทั้งภายในและต่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมมาตรฐานคุณภาพ
อากาศที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย รวมถึงการวิเคราะห์ว่ากฎหมายไทยที่มีอยู่
ในปัจจุบันเพียงพอแล้วหรือไม่ในการก�ากับดูแลมาตรฐานคุณภาพอากาศ หากไม่เพียงพอควรจะต้อง
ปรับปรุงกฎหมายอย่างไร หรือจะตราเป็นกฎหมายใหม่ อีกทั้งยังจะได้ให้ข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต
ทั้งทางกฎหมายและทางนโยบาย เพื่อพัฒนาระบบก�ากับดูแลมาตรฐานคุณภาพอากาศโดยค�านึงถึง
แนวปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศและข้อเสนอแนะขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อสมาชิกรัฐสภาได้มีข้อมูล
พิจารณาแนวทางในการตรากฎหมายหรือการแก้ไขกฎหมายต่อไป สถาบันพระปกเกล้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
รายงานการศึกษาฉบับนี้ จะเป็นข้อมูลส�าคัญส�าหรับฝ่ายนิติบัญญัติในการน�าไปประกอบการพิจารณา
เพื่อปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
(ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย)
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า