Page 296 - kpiebook65043
P. 296

296   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           ไม่ได้หมายความว่าเป็นสังคมที่ไม่มีปัญหา แต่เป็นสังคมที่เมื่อเผชิญปัญหาแล้วก็สามารถแก้ไข
           ได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าหากพบกับปัญหาที่เล็กน้อยก็มีภูมิต้านทานที่จะปรับปรุงตัวเอง ดังนั้น
           ประชาธิปไตยต้องนำไปสู่สังคมให้คนที่อยู่ในสังคมที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ที่สำคัญ
           ประชาธิปไตยจะต้องสร้างสิ่งที่เรียกว่าความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมและทำให้คนในสังคม

           เห็นว่าสังคมนี้ไม่ได้เลือกปฏิบัติ สังคมนี้ยึดหลักนิติธรรม นี่คือเป้าหมายที่สำคัญที่ระบอบ
           ประชาธิปไตยทั่วโลก แม้กระทั่งประเทศไทยจำเป็นต้องมีการทบทวนและหาทางออกเพื่อไปสู่
           เป้าหมายนี้ให้ได้

                 ประการที่สอง โดยพื้นฐานแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะต้องเป็นระบอบ

           ที่สามารถเปิดกว้างให้ความเห็นที่แตกต่างสามารถมีที่ยืนได้ ปัจจุบันทั่วโลกก็มีความเห็นในเชิง
           อุดมการณ์และความคิดที่แตกต่าง แม้กระทั่งในประเทศไทยซึ่งคนในสังคมมีความคิดความเห็น
           ที่แตกต่างกันอันเกิดจากความแตกต่างของอุดมการณ์ ความเชื่อ ประสบการณ์ และช่วงอายุ

           ในการประชุมกลุ่มย่อยก็ได้มีการกล่าวว่าอย่างน้อยที่สุดสังคมประชาธิปไตยจะต้องทำหน้าที่
           รองรับความเห็นที่แตกต่าง ความคิดที่แตกต่าง และอุดมการณ์ที่แตกต่างได้ด้วย ดังนั้น
           สังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นสังคมที่มีพื้นที่ปลอดภัยให้คนได้มีโอกาสพูดคุย ที่สำคัญ
           ความเห็นที่แตกต่างจะไม่สามารถยุติได้ถ้าหากไม่มีการเสวนา (Dialogue) ถ้าหากไม่มี
           การหารือ ไม่มีการพูดคุย หรือไม่มีการยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้

           ระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องมีกลไกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือสังคมสามารถ
           มีส่วนร่วมได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยากรหลายท่านได้กล่าวถึงว่าการมีกฎหมายที่เป็น
           ช่องทางให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่น กฎหมายว่า

           ด้วยเรื่องการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย (พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564)
           กฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
















    สาระส้าคัญการแสดงปาฐกถาปิด
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301