Page 295 - kpiebook65043
P. 295

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  295
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                   การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ใหม่ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นทำให้ระบอบประชาธิปไตย
             เกิดปัญหา หลายประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหา
             การผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในระบบเศรษฐกิจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
             ความเหลื่อมล้ำ ภาระหนี้สิน ความล้มละลายของภาคธุรกิจที่ต่อสู้ในตลาดไม่ได้ตลอดจน

             เกิดคนจนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ระบอบประชาธิปไตยยังไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบ
             ในสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกกีดกัน และบางครั้งนำไปสู่ความโกรธแค้น รวมถึงปัญหา
             ความรู้สึกไม่เป็นธรรม ขาดหลักนิติธรรม และการใช้กฎหมายไม่เท่าเทียม สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ

             และเป็นความท้าทายต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก

                   ในช่วงสองวันที่ผ่านมา จะมีการกล่าวถึงเครื่องมือของระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าจะ
             เป็นการออกเสียงประชามติหรือการเลือกตั้ง และยังมีการกล่าวถึงปรากฏการณ์ของการยอมรับ
             การปกครองในระบอบอื่นหรือแนวความคิดในการเมืองการปกครองแบบอื่น ดังเช่นตัวอย่าง

             ของปรากฏการณ์ Brexit หรือปรากฏการณ์ที่อดีตประธานาธิบดี Donald Trump
             ได้ชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2019 ซึ่งนำไปสู่การยินยอมให้มีวิธีคิดแบบอัตตาธิปไตย
             (Autocracy) มากยิ่งขึ้น และกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ดังนั้น จึงเกิด
             คำถามว่าถ้าหากประชาธิปไตยได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ใหม่เหล่านี้
             แล้ว ประชาธิปไตยจะยังคงอยู่ได้หรือไม่ ?


                   นักชีววิทยาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Charles Darwin ได้แสดงให้เห็นในงานเขียนเรื่อง
             “On the Origin of Species” ว่าคนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุดหรือคนที่ฉลาดที่สุด แต่
             เป็นคนที่สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้  นั่นคือ ความสามารถในการปรับตัวได้
                                                            2
             ระบอบประชาธิปไตยก็เช่นกัน เราต้องการผู้นำที่สามารถปรับตัวได้ในวิธีการทำงาน เราต้องการ
             ภาครัฐ สถาบันทางการเมืองที่ปรับตัวได้ และประชาธิปไตยก็ต้องปรับตัวเช่นกัน อย่างน้อย
             ที่สุด ข้อเสนอสี่ประการที่ระบอบประชาธิปไตยต้องปรับตัวเพื่อนำไปสู่เป้าหมายใหม่ก็คือ

                   ประการแรก ต้องทำให้ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่นำไปสู่เป้าหมายของสังคม คือ การเป็น

             สังคมที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความมั่งคั่ง (Wealth) นั่นคือ การทำให้สังคมมีความมั่งคั่ง
             มีระบบเศรษฐกิจที่เติบโตยั่งยืน และเป็นระบบเศรษฐกิจที่สร้างโอกาสให้คนได้อย่างเท่าเทียม
             เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปราศจากความเป็นธรรม ปราศจากการแข่งขันที่เสรี
             และปราศจากการให้โอกาสคนตัวเล็กตัวน้อย ทำให้ประชาธิปไตยไปไม่ได้ ดังนั้น ทางออกใน

             ระบอบประชาธิปไตยอันหนึ่งก็คือ ต้องทำให้เห็นว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น
             เป็นทางออกที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยต้องทำให้สังคมมั่นคง
             เป็นปึกแผ่น เป็นที่พึ่งที่ปลอดภัย เป็นสังคมที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ ทั้งนี้ สังคมที่เข้มแข็ง



                 2   ข้อความดังกล่าวถูกตีความจากหนังสือเรื่อง On the Origin Of Species ของ Charles Darwin โดย   สาระส้าคัญการแสดงปาฐกถาปิด
             Leon C. Megginson (Leon C. Megginson. Lessons from Europe for American Business.
             Southwestern Social Science Quarterly, Vol. 44, Number 1, June 1963).
   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300