Page 208 - kpiebook65024
P. 208
207
การจัดตั้ง วิธีพิจารณาคดี และการด�าเนินงานของศาลทหาร
ตลอดจนการแต่งตั้งและการให้ตุลาการศาลทหารพ้นจากต�าแหน่ง ให้เป็นไป
ตามที่กฎหมายบัญญัติ” 33
จากการเปรียบเทียบขอบเขตอ�านาจของศาลทหารตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 และรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จะพบว่าขอบเขตอ�านาจของศาลทหารมีหลักการ
และลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยศาลทหารจะมีลักษณะพิเศษ คือ ศาลทหารจะมี
เขตอ�านาจเฉพาะกับคดีซึ่งผู้กระท�าผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอ�านาจศาลทหารในขณะ
กระท�าผิด ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13
“มาตรา 13 ศาลทหารมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษ
ผู้กระท�าผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระท�า
ผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอ�านาจศาลทหารในขณะกระท�าผิด และมีอ�านาจสั่งลงโทษ
บุคคลใด ๆ ที่กระท�าผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง”
โดยการตีความกฎหมาย การพิจารณาและพิพากษาคดีตามกฎหมายทหารนั้น
ต้องค�านึงถึงความมุ่งหมายหลัก 2 ประการของกฎหมายทหารด้วย คือ
1. ทหารเป็นก�าลังส�าคัญของชาติ จ�าเป็นต้องควบคุมวินัย และความเรียบร้อย
ทั้งในเวลาสงบ และเวลาสงคราม โดยเฉพาะในเวลาสงครามก็ยิ่งเข้มงวดกวดขัน
การปกครองทหารทั้งวินัยกับการศาล จึงต้องแยกออกจากพลเรือน
33 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560, มาตรา 199