Page 596 - kpiebook65012
P. 596

596



                  จากข้อมูลที่ได้น�าเสนอจะพบข้อน่าสังเกตในเรื่องนี้คือ
          นอกจากมีการจัดงบประมาณรายจ่ายจ�านวนน้อยแล้ว ส�านักสิ่งแวดล้อม

          ยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศจากฝุ่นขนาดเล็ก
          นอกจากการจัดหาและติดตั้งเครื่อง ตรวจวัดคุณภาพอากาศจ�านวนหนึ่ง
          หรือการฉีดพ่นน�้าในบริเวณที่มีค่าฝุ่นสูงเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็น

          ครั้งคราวเท่านั้น และถ้าพิจารณาการทบทวนแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร
          ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) จะพบว่ามีการทบทวนและปรับตัวชี้วัด

          ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศด้วย

                  เดิมแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575)

          ในประเด็นยุทธศาสตร์ 1 มหานครปลอดภัย ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อย 1.1
          ปลอดมลพิษ ได้ก�าหนดตัวชี้วัดในเรื่องคุณภาพอากาศ เช่น


                  1. ร้อยละของค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน
          10 ไมครอน (PM10) ที่จุดตรวจวัดพื้นที่ทั่วไป โดย 5 ปีแรก (พ.ศ. 2556-
          2560) มีค่าเป้าหมายอยู่ที่ร้อยละ 100


                  2. ร้อยละของค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน
          10 ไมครอน (PM10) ที่จุดตรวจวัดริมเส้นทางจราจร โดย 5 ปีแรก
          (พ.ศ. 2556-2560) มีค่าเป้าหมายอยู่ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ระยะ 10 ปี

          (พ.ศ. 2561-2565) มีค่าเป้าหมายอยู่ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ระยะ 15 ปี
          (พ.ศ. 2566-2570) มีค่าเป้าหมายอยู่ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 และระยะ

          20 ปี (พ.ศ. 2571-2575) มีค่าเป้าหมายอยู่ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 98
   591   592   593   594   595   596   597   598   599   600   601