Page 530 - kpiebook65012
P. 530
530
ทั้งแผนยุทธศาสตร์ขาติ แผนกระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาติ
ก็จะต้องน�ามาใส่ไว้ในแผนของกรุงเทพมหานครไปด้วย
ดังนั้น ในภาพที่เป็นจริงของกระบวนการจัดท�าแผนพัฒนา
กรุงเทพมหานครในทุก ๆ แผนนั้น กรุงเทพมหานครในฐานะผู้ที่รับผิดชอบ
จัดท�าแผน จะอยู่ในสถานะที่จะต้องสร้างสมดุลในการพยายามท�า
ความเข้าใจสภาพปัญหาและเป้าหมายในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
แนวคิดการพัฒนาเมืองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึงในระดับสากลในช่วงเวลา
นั้น ๆ อีกทั้งการพยายามรับฟังความต้องการของประชาชน และในอีก
ด้านหนึ่งก็จะต้องท�าตามกรอบการพัฒนาในระดับประเทศทั้งที่เกิดขึ้น
ก่อนที่จะมีการก�าหนดแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร หรือแม้แต่เมื่อมี
การก�าหนดแผนพัฒนากรุงเทพมหานครไปแล้ว ก็จะต้องมีการพยายาม
ปรับเพิ่มเนื้อหาและตัวชี้วัดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกรอบของรัฐบาลกลาง
และกรอบอื่น ๆ ที่รัฐบาลกลางน�าเข้ามาใช้ในการก�าหนดแผนพัฒนา
ในทุกระดับ
โดยเงื่อนไขของการเกิดแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 12 ปี
(พ.ศ. 2552-2563) ถือเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ในการวางแผนอันเป็นผล
มาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ก�าหนดแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐให้รัฐบาลที่เข้ามาบริหารงานต้องด�าเนินการประกอบกับ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 โดยรัฐบาลได้จัดท�าแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2548-2551 ขึ้น และก�าหนดให้ส่วนราชการต่าง ๆ ท�าแผนปฏิบัติการ