Page 485 - kpiebook65012
P. 485

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  485


          (พ.ศ. 2518 นายธรรมนูญ เทียนเงิน) และยุคของผู้สมัครอิสระ (พ.ศ. 2528
          พลตรี จ�าลอง ศรีเมือง) และต่อมาผู้สมัครอิสระก็ตั้งพรรคการเมืองเอง

          และจนกระทั่งมาถึงยุคที่ผู้สมัครสังกัดพรรค (ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค) ได้รับ
          ชัยชนะ ซึ่งเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างสองพรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์
          และพรรคพลังประชาชน/เพื่อไทย (พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 และ พ.ศ.

          2556)

                  จากการศึกษาพบว่า พรรคการเมืองระดับชาติมีบทบาทต่อ

          การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด ทั้งในแง่ของ
          การส่งผู้สมัครเองหรือไม่ส่งผู้สมัคร แต่ให้ความช่วยเหลือในการไม่ส่ง

          ผู้สมัคร เพื่อหวังว่าฐานเสียงของตนนั้นจะให้คะแนนกับผู้สมัครคนนั้น
          เนื่องจากในเอกสารการวิจัยต่าง ๆ และข้อมูลในหน้าข่าวก็ยืนยันไปใน
          ทางเดียวกันว่า ในแต่ละครั้งที่ผู้สมัครอิสระได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง

          ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น ก็จะมีพรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัคร
          ลงเลือกตั้งในยุคสมัยนั้น อาทิ พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และ

          พรรคก้าวหน้าไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี
          พ.ศ. 2528 (พลตรีจ�าลอง ศรีเมือง ชนะการเลือกตั้ง) พรรคประชาธิปัตย์
          ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2539

          (นายพิจิตต รัตตกุล ชนะการเลือกตั้ง) กล่าวโดยสรุปก็คือการไม่ส่ง
          ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองในหลายครั้งเป็นการตัดสินใจทาง

          ยุทธศาสตร์ที่จะให้การสนับสนุนผู้สมัครบางรายมากกว่าการตัดสินใจ
          ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ
          บางครั้งการตัดสินใจไม่ส่งผู้สมัครลงนั้นก็มีจุดมุ่งหมายที่จะตัดคะแนน

          หรือลดความนิยมของพรรคการเมืองคู่แข่งในการเมืองระดับชาติลงไปด้วย
   480   481   482   483   484   485   486   487   488   489   490