Page 483 - kpiebook65012
P. 483
การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565) 483
อย่างไรก็ตามสาเหตุส�าคัญประการหนึ่งที่ความตื่นตัวใน
การเลือกตั้งมีเพิ่มขึ้นนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงในตัวกฎหมายเลือกตั้ง
นับจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ที่ท�าให้การไม่ไปใช้
สิทธิเลือกตั้งนั้นเชื่อมโยงกับการเสียสิทธิทางการเมือง จนกว่าจะไปใช้สิทธิ
ในครั้งต่อไป และเมื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในการเลือกตั้ง
ท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจะพบว่า ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 จะมีการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อยู่ที่ร้อยละ 43.53 (การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่
2 มิถุนายน พ.ศ. 2539) และหลังปี 2540 อยู่ที่ร้อยละ 58.87 (การเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543) ส่วน
การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ผู้ไปใช้สิทธิอยู่ที่ร้อยละ 21.29 (การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม
พ.ศ. 2537) และหลังปี 2540 ผู้ไปใช้สิทธิอยู่ที่ร้อยละ 30.43 (การเลือกตั้ง
เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2541) ส่วนสมาชิกสภาเขตอยู่ที่ร้อยละ
17.46 และ 21.45 (การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2537 ตามล�าดับ) และหลังปี 2540 อยู่ที่
ร้อยละ 23.80 และ 30.84 (การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2541
และ 26 เมษายน พ.ศ. 2541 ตามล�าดับ)
อย่างไรก็ตามส่วนส�าคัญที่ท�าให้การเลือกตั้งสมาชิก
สภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตนั้นอาจจะยังมีความตื่นตัว
น้อยกว่าตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดูผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครในตารางที่ 7.4 สมาชิกสภากรุงเทพมหานครในตาราง