Page 27 - kpiebook65011
P. 27
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
จากการแต่งตั้งข้าราชการในกรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร และก่อนปี 2557 มีสภาเขตที่มาจากการเลือกตั้งของ
ประชาชนเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้อำนวยการเขต
สำหรับส่วนที่ไม่ค่อยมีการพูดถึงในตำราว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
ก็คือระบบชุมชนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นระบบการบริหารจัดการ
ในระดับล่างของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันระบบชุมชนในกรุงเทพมหานคร
เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน
พ.ศ. 2564 ซึ่งแบ่งชุมชนออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ชุมชนแออัด
2) ชุมชนเมือง 3) ชุมชนชานเมือง 4) ชุมชนอาคารสูง และ 5) ชุมชน
รูปแบบพิเศษ การได้มาซึ่งสถานะชุมชนจะต้องเกิดจากการรวมกันไป
จดทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร โดยจำนวนบ้านที่ประชาชนมีชื่ออยู่ใน
ทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 100 หลัง เว้นแต่เป็นการจัดตั้งชุมชนรูปแบบ
พิเศษ เจ้าบ้านหรือผู้อาศัยที่เจ้าของบ้านมอบหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้านในชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนบ้านในชุมชนเข้าชื่อ
เสนอต่อผู้อำนวยการเขตแจ้งความประสงค์ขอจัดตั้งชุมชน เมื่อผู้อำนวยการ
เขตพิจารณาเห็นสมควรก็ดำเนินการจัดตั้งชุมชนได้ และจะมีการจัดทำเป็น
ประกาศกรุงเทพมหานครโดยปลัดกรุงเทพมหานครลงนาม เมื่อกรุงเทพมหานคร
ได้ประกาศให้ชุมชนใดเป็นชุมชนตามระเบียบนี้แล้ว ชุมชนนั้นก็จะมี
โครงสร้างการบริหารที่มีตัวแทนของชุมชนคือ คณะกรรมการชุมชน ซึ่งมา
จากการเลือกตั้งที่จัดโดยสำนักงานเขต นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุน
จากเขตในเรื่องงบประมาณ ตามข้อมูลจากสำนักพัฒนาสังคมของ
กรุงเทพมหานครนั้น ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีจำนวนชุมชนที่ได้รับ
การขึ้นทะเบียนกับกรุงเทพมหานครแล้ว 2,017 ชุมชน แบ่งเป็นชุมชน
แออัด 641 ชุมชน ชุมชนชานเมือง 351 ชุมชน ชุมชนอาคารสูง 85 ชุมชน
และชุมชนเมือง 940 ชุมชน
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
19