Page 26 - kpiebook65011
P. 26
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
หน้าที่ต่อจากสมาชิกสภาเขตที่มาจากการเลือกตั้งที่หมดวาระลง อีกทั้ง
ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6)
พ.ศ. 2562 (แก้ไขล่าสุด) กำหนดให้มิให้นำบทบัญญัติที่ว่าด้วยสภาเขต
(มาตรา 71-80) มาใช้ และให้รอปรับปรุงกฎหมาย (หมายความว่าขณะนี้
กรุงเทพมหานครไม่มีสภาเขต)
ความแตกต่างของกรุงเทพมหานครกับรูปแบบการปกครองท้องถิ่น
อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็คือกรุงเทพมหานครนั้น
เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีชั้นการปกครองเดียว (unitary local
authority) ครอบคลุมระบบการปกครองทุกระดับ ขณะที่องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระบบสองชั้น
มีการแบ่งหน้าที่กัน นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังเป็นหน่วยการปกครอง
ท้องถิ่นที่ครอบคลุมพื้นที่เมืองเต็มพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือมีสถานะเป็น
จังหวัดในแง่ของพื้นที่การบริหาร แต่ไม่มีโครงสร้างการบริหารแบบจังหวัด
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งนี้
ผู้ว่าราชการจังหวัดยังได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าราชการ
จังหวัดในหลายเรื่อง แต่ไม่มีอำนาจเหนือหน่วยราชการอื่นในระดับเดียวกับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดในโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ทั้งนี้
กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลกรุงเทพมหานคร และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสามารถสั่งให้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่งได้
กรุงเทพมหานครยังมีระบบสำนัก ซึ่งหมายถึงการบริหารกิจการของ
กรุงเทพมหานครในภาพรวม ถึง 15 สำนัก และมีระบบสำนักงานเขตเป็น
เสมือนสาขาย่อยของกรุงเทพมหานครอีก 50 พื้นที่ โดยที่มีความเชื่อมโยง
กับสำนักในส่วนกลางของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มีผู้อำนวยการเขตที่มา
18 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า