Page 84 - kpiebook64013
P. 84
ข้อ 37 กำาหนดไว้ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญให้เลือกจากบุคคล
ที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำานวนไม่เกิน 1 ใน 4 ของจำานวนกรรมาธิการ
ทั้งหมด นอกจากนั้นให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ
2) แต่งตั้ง “คณะกรรมาธิการร่วมกัน” เพื่อพิจารณา
ร่างกฎหมายในกรณีที่วุฒิสภาเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมาย
แต่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยตามมาตรา 175 (3) 26
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาพุทธศักราช 2541 ข้อ 117 กำาหนด
ไว้ว่าในกรณีที่วุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งจำานวน
26 มาตรา 175 (3) ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญตามที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาผู้แทนราษฎร ถ้าสภาผู้แทน
ราษฎรเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ดำาเนินการ ต่อไปตามมาตรา 93
ถ้าเป็นกรณีอื่น ให้แต่ละสภาตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นๆ
มีจำานวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำาหนด ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกัน
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว
ต่อสภาทั้งสอง ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติ หรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว
ให้ดำาเนินการต่อไปตามมาตรา 93 ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วยก็ให้ยับยั้ง
ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไว้ก่อน
คณะกรรมาธิการร่วมกันอาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใด
มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้และเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 157
และมาตรา 158 นั้นให้ คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำาหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมกันต้องมีกรรมาธิการของสภาทั้งสองมา
ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้นำาบทบัญญัติมาตรา 194 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
84 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย