Page 234 - kpiebook64013
P. 234
รศ.ดร.วีระศักดิ์ ยังตั้งคำาถามถึงการมีสมาชิกวุฒิสภาว่า
ให้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ จึงแนะนำาให้ดูภาระงบประมาณทั้งหมด
ที่จ่ายไปอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา อาทิ
การปฏิบัติงาน ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชน เพื่อมองเห็นปัญหาและเก็บ
ข้อมูล ซึ่งสามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ “ผมใช้ตัวเลขคร่าวๆ
1.5 ล้านบาทต่อคนต่อปี จากเอกสารภายในของสำานักงานเลขาธิการ
วุฒิสภา เป็นข้อมูลที่ตั้งคำาถามว่า ตกลง ส.ว. ในยุคนั้นมีค่าใช้จ่าย
อันเกี่ยวเนื่องกับการเดินทาง ค่าที่พัก เท่าไร เมื่อวันนั้นตกอยู่ประมาณ
1.3 ล้านเศษ ต่อ 1 ตำาแหน่ง รวมถึงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล อันนี้
ผมอิงจากเรตราชการนะครับ เบี้ยประชุมครั้งละ 800 บาท ตก 9 แสน
กว่าบาทต่อปี ตัวเลขล่าสุดที่ ปปช. เพิ่งประกาศ ค่าเบี้ยประชุมของ สนช.
ท่านหนึ่งเมื่อปี 60 ได้ 8.116 ล้าน นี่คือรายจ่ายที่รวมกันต่อ 1 ตำาแหน่ง
เทียบแล้ว คูณ 250 ตก 5,538.75 ล้านบาทต่อ 5 ปี” รศ.ดร.วีระศักดิ์
กล่าว พร้อมระบุว่า หากการทำางานของสมาชิกวุฒิสภาสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่ประเทศได้มากกว่าหรือเทียบเท่า 5,538.75 ล้านบาท ก็ถือว่าเรา
ยังจำาเป็นต้องมีสมาชิกวุฒิสภา แต่หากสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ได้ สังคมก็ต้อง
ตั้งคำาถามว่าสมาชิกวุฒิสภา ยังมีความจำาเป็นอยู่หรือไม่
นอกจากนี้ รศ.ดร.วีระศักดิ์ยังระบุว่า ตามมาตรา 107 ของ
รัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า องค์ประกอบของ ส.ว. ต้องมีความหลากหลาย
แต่ที่จริงยังไม่หลากหลาย และยังไปกระจุกอยู่แค่คนบางกลุ่มเท่านั้น
รวมไปถึงการที่บอกว่าต้องไม่มีการผูกขาดอำานาจ แต่กลับยังมีสมาชิก
บางคนเคยอยู่ในตำาแหน่งนานถึง 2 – 3 วาระ ซึ่ง อ.วีระศักดิ์เองก็เกรงว่า
วุฒิสภาอาจกลายเป็นเพียงตัวประกอบที่ไม่ได้มีประโยชน์ใดๆ นอกจาก
มีไว้เพื่อคงไว้ซึ่งอำานาจและเสถียรภาพของฝ่ายรัฐเท่านั้น 152
152 สนุกดอทคอม. (2562). ส.ว. มีไว้ทําไม คุ้มหรือไม่กับภาษีประชาชน.
จาก https://www.sanook.com/news/7782926/.
234 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย