Page 166 - kpiebook64013
P. 166
1. บทบาทหน้าที่และอ�านาจด้านนิติบัญญัติ
สภาขุนนางเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนิติบัญญัติ แต่โดยหลักการ
แล้วสภาขุนนางไม่มีอำานาจเท่ากับสภาสามัญ ทั้งนี้เพราะสภาขุนนางไม่ได้
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อำานาจหน้าที่ของสภาขุนนาง
ด้านนิติบัญญัติแบ่งออกเป็น 2 ประการ ดังนี้
1.1 ริเริ่มเสนอร่างกฎหมาย
สมาชิกรัฐสภามีอำานาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติให้รัฐสภา
พิจารณาได้ ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกรัฐสภาเสนอนี้เรียกว่า Private
Member, Bills ซึ่งในแต่ละสมัยประชุม (12 เดือน) มีการจัดสรรเวลา
123
เพื่อให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยรัฐสภา 13 วัน แต่ใน
ทางปฏิบัตินั้น สมาชิกรัฐสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติน้อยมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาล แต่ร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาลส่วนมาก
จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลมีเสียงข้างมาก
ในรัฐสภานั่นเอง
สมาชิกสภาขุนนางมีอำานาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่อย่างไรก็ตาม การเสนอ
ร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาขุนนาง จะต้องเป็นร่างกฎหมายที่
ไม่สำาคัญและไม่เป็นปัญหาโต้แย้ง
124
123 สนธิ เตชานันท์. ระบบการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษ. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.
124 Bill Coxall and Lynton Robins. 1989. Contemporary British Politics.
New York: Palgrave Macmillan.
166 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย