Page 110 - kpiebook64013
P. 110
ในการพิจารณาของวุฒิสภา (หลังจากที่ได้ผ่านการพิจารณา
ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว) วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบ
หรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำาหนด โดยจะ
แก้ไขเพิ่มเติมใดๆ มิได้
1.3 การอนุมัติพระราชกำาหนดตามบทบัญญัติมาตรา 184
67
ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ
การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำาด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำามิได้
ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มีจำานวนไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสิบของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา เห็นว่ามีการกระทำา
ฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา
และศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็น
ดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำาฝ่าฝืนบทบัญญัติตาม
วรรคหก ให้การเสนอการแปรญัตติหรือการกระทำาดังกล่าวสิ้นผลไป
รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามวรรคแปด
หากหน่วยงานนั้นเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอ
ให้สามารถเสนอคำาขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรง
67 มาตรา 184 ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ
ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัย
พิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำาหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระ
ราชบัญญัติก็ได
การตราพระราชกำาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำาได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี
เห็นว่า เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำาเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำาหนดนั้นต่อ
รัฐสภา เพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัย
ประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องดำาเนินการให้มีการเรียกประชุม
รัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พระราชกำาหนดโดยเร็ว
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ
และสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของ
110 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย