Page 231 - kpiebook64011
P. 231

ภาคผนวก ข แบบสัมภาษณ์ เรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการหาเสียงและการเลือกตั้งนายกและสมาชิก
               สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ (อบจ. สมุทรปราการ) ปี 2563


                                                      แบบสัมภาษณ์
                เรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการหาเสียงและการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                                         สมุทรปราการ (อบจ. สมุทรปราการ) ปี 2563
               ค าชี้แจง แบบสัมภาษณ์ฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ พฤติกรรมการหาเสียง และการเลือกตั้ง

               นายกและสมาชิก อบจ. สมุทรปราการ ปี 2563 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ส าคัญคือ ศึกษาบรรยากาศการเลือกตั้ง
               ลักษณะการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งนายก
               และสมาชิก อบจ. สมุทรปราการ ปี 2563 การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการ
               กระจายอ านาจและประชาธิปไตยท้องถิ่น โดยสถาบันพระปกเกล้า

                       1. บรรยากาศของการเมืองระดับชาติมีผลต่อการเลือกตั้งนายกและสมาชิก อบจ. สมุทรปราการใน
               ครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร
                       2. เกิดการแข่งขันระหว่างตระกูลทางการเมืองในพื้นที่หรือไม่ หากมี การแข่งขันเป็นอย่างไร หรือมี
               การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มทางการเมืองในพื้นที่หรือไม่ อย่างไร

                       3. รูปแบบและวิธีการหาเสียงแบบเดิมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง อาทิ รถแห่ การเดินพบปะประชาชน
               แจกใบปลิว ตั้งเวทีปราศรัย ยังเป็นที่นิยมในพื้นที่อยู่หรือไม่
                       4. การใช้สื่อออนไลน์เพื่อหาเสียงสนับสนุนของผู้สมัคร เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกของ

               ประชาชนมากน้อยเพียงใด
                       5. หัวคะแนนยังมีอิทธิพลต่อประชาชนในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้งอีกหรือไม่
                       6. ทัศนคติของประชาชนในพื้นที่ต่อการซื้อเสียงเป็นอย่างไร เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
                       7. ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวต่อการเลือกตั้งครั้งนี้เพียงใด
                       8. เงื่อนไขหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อประชาชนในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้ง (อาทิ การ

               สังกัดพรรคการเมืองระดับชาติ นโยบายของผู้สมัคร ประวัติของผู้สมัคร รูปแบบและวิธีการหาเสียง อื่น ๆ)
                       9. ปัจจัยด้านใดที่ท าให้ผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง และปัจจัยใดที่ท าให้ผู้สมัครตัดสินใจไม่สังกัด
               พรรคการเมือง

                       10. ผู้สมัครรับการเลือกตั้งที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง มีความเชื่อมโยงอย่างไม่เป็นทางการกับพรรค
               การเมืองหรือไม่ (หากมี) ความเชื่อมโยงนั้นเป็นอย่างไร การสร้างความเชื่อมโยงนั้นด าเนินไปอย่างไร
                       11. มีความเปลี่ยนแปลงของระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่หรือไม่ ระบบอุปถัมภ์จากกลุ่มการเมืองที่ชนะการ
               เลือกตั้งในพื้นที่มาอย่างยาวนานสามารถเข้าถึงทุกพื้นที่หรือไม่ (พื้นที่ชนบท พื้นที่ยากจน พื้นที่เมือง พื้นที่

               อุตสาหกรรม เป็นต้น)
                       12. การเข้าสังกัดพรรคการเมืองระดับชาติของผู้สมัครด าเนินการอย่างไร และการลงสมัครภายใต้
               สังกัดพรรคการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่
                       13. ผู้สมัครบางท่านไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองระดับชาติ แต่สังกัดกับกลุ่มการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่

               ผู้สมัครเหล่านี้เชื่อมโยงตนเองกับกลุ่มการเมืองในพื้นที่อย่างไร
                       14. ตามรายงานของสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
               จังหวัดปี 2563 มักจะพบเห็นค าว่า “บ้านใหญ่” ที่มีนัยถึงกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลทางการเมืองสูงทั้งในระดับ







                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   213
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236