Page 163 - kpiebook64009
P. 163
รูปแบบกำรหำเสียง
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ
อยู่เสมอ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เริ่มตั้งแต่การใช้กระดาษ พัฒนาเรื่อยมาเป็นโปสเตอร์ ไวนิล
ป้ายคัทเอาท์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เปลี่ยนแปลงพัฒนาเรื่อยมาจนเข้าสู่ยุคสังคมออนไลน์อย่างในปัจจุบัน
ที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนในทุกระดับทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็น Line (ไลน์) หรือ
Facebook (เฟซบุค) การหาเสียงรูปแบบใหม่ผ่านโลกออนไลน์จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เริ่มทดแทน
สื่อรูปแบบเก่า ที่นักการเมืองนิยมใช้ เนื่องจาก สื่อออนไลน์ใช้ต้นทุนต่ าในการท างาน สามารถสื่อสารได้
อย่างรวดเร็ว และตรงกลุ่มเป้าหมาย สามารถกลับมาย้อนดูภายหลังได้ และยังเป็นการสื่อสารอีกหนึ่ง
ช่องทางที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ลงคะแนนเสียงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง สอดคล้องกับส ารวจ
ความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศต่อการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี
พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ผ่านหัวข้อค าถามที่ว่า “คนไทยคิดอย่างไร? กับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ผ่านทาง
โซเชียลมีเดีย โดยสุ่มตัวอย่างประชาชนจ านวน 1,174 คน ระหว่างช่วงวันที่ 18-22 กันยายน 2561 โดยมี
ผลส ารวจ ดังนี้
ตำรำงที่ 124 ผลส ำรวจคนไทยคิดเห็นอย่ำงไร? กับกำรหำเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ช่วงเวลำวันที่ 18-22
กันยำยน 2561
อันดับ ควำมคิดเห็น ผลส ำรวจ (ร้อยละ)
1 เป็นวิธีการที่ดี ทันสมัย ช่วยประหยัดเวลาปละงบประมาณ 48.15
2 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวก สามารถแสดงความคิดเห็นถามตอบได้ 34.57
3 ควบคุมได้ยาก ตรวจสอบไม่ได้ อาจเกิดการใส่ร้ายโจมตีกัน 25.93
4 สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการหาเสียงเจาะกลุ่มเฉพาะ 17.04
5 ละเมิดพื้นที่ส่วนตัว ไม่สนใจอยากอ่าน แต่ต้องมาเห็นข้อความที่เข้ามา 13.58
ที่มา: สวนดุสิตโพล, เมษายน 2564
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชและสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
มีการท ารูปแบบหาเสียงเลือกตั้งทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ดังรูปภาพบรรยากาศในการหาเสียง ดังนี้
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช 145