Page 154 - kpiebook64008
P. 154
การพัฒนาเมืองตามข้อคิดเห็นยังรวมถึงการพูดถึงนโยบายใหม่ ๆ ที่ อบจ. พึงมี เช่น การควบคุมดูแล
ผู้ค้าบริการทางเพศ (sex worker) การจัดระเบียบมากกว่าการควบคุม ให้มีนโยบายด้านการอนุรักษ์ ควบคู่ไปกับ
เรื่องของการพัฒนาเมืองและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม
แรงงานต่างด้าวที่มีจ านวนเพิ่มมากขึ้น ประชากรแฝง คนไร้บ้าน รวมถึงผู้พิการ
4. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นหรือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ
จังหวัด การรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ เพื่อท าให้นโยบายมาจากประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการมี
ส่วนนั้นจะน าไปสู่การสร้างเมืองและพัฒนาพื้นที่เพื่อเอื้อต่อการด าเนินชีวิตของคนอื่นๆ เช่น ผู้พิการและผู้สูงอายุ
การส่งเสริมกิจกรรมของท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับคนในจังหวัดที่ส่งเสริม เรื่องประชาธิปไตยหรือการให้
ความส าคัญต่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การเปิดโอกาสหรือช่องทางให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารและ
การจัดท าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่
5. ด้านสังคมและความเป็นธรรม
การศึกษา และแรงงาน คนไร้สัญชาติ
“พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มสวัสดิการเพื่อประชาชนให้ครอบคลุม เพิ่มการท าถึงสวัสดิการของรัฐให้กับ
ประชาชนที่ห่างไกล โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งการศึกษา แหล่งการดูแลสุขภาพ เพิ่มโอกาสให้ประชาชน
ในพื้นที่ห่างไกล”
6. ด้านเศรษฐกิจและรายได้
การส่งเสริมอาชีพและสนับสนุนการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ วิถีชีวิตคนในเมืองกับชนบทแตกต่าง
กัน หน่วยการปกครองเมื่อมีงบพัฒนาจังหวัดต้องวางแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการด ารงชีวิตและลักษณะ
งานของคนในแต่ละพื้นที่ด้วย ซึ่งเรื่องของอาชีพและรายได้เชื่อมโยงไปสู่การพยายามสร้างมาตรฐานการศึกษา
ในโรงเรียนในสังกัด อบจ. เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมของเยาวชน และนักเรียนในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ
“ประกันรายได้ของเงินเดือน...เงินเดือนในเชียงใหม่จบปริญญาตรีบางที่ยังอยู่ในหลักพัน แต่ค่าครอง
ชีพสูงมากกว่า”, “เพิ่มค่าแรงขั้นต่ าให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น”
“ทางด้านเศรษฐกิจ อยากให้ส่งเสริมการค้าขายของผู้คนภายในชุมชนให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย
มากขึ้น เพื่อส่งเสริมรายได้และภาวะเศรษฐกิจเป็นการกระตุ้นให้ภาวะทางเศรษฐกิจ และปากท้องของพี่น้อง
ในชุมชนเชียงใหม่ดีขึ้น”
จากค าตอบจากค าถามปลายเปิดของแบบสอบถามกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 400 ชุด
พบว่าความต้องการในการให้ อบจ. ท าบทบาทบาทหน้าที่หลายประการ เชื่อมโยงกับอ านาจการต่อรอง
ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หากมองมิติของหลักการของการเลือกตั้งการถ่วงดุลอ านาจระหว่างนักการเมืองกับ
ประชาชนก็ถูกเชื่อมไว้ด้วยการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยถือเป็นการตรวจสอบการท างานและ
การด าเนินการทางการเมืองตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันความคาดหวังของผู้ตอบ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 133