Page 74 - kpiebook63032
P. 74

73








                            3.5.3.1 ประชาชน ผู้วิจัยดำาเนินการออกเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการแจกแบบสอบถาม

                  แก่กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ จังหวัดสระแก้ว จำานวน 400 คน ในการตอบแบบสอบถาม โดยในการเก็บข้อมูล
                  ดังกล่าวจะเกิดจากความสมัครใจของประชาชน โดยในขณะเก็บข้อมูลผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ จะไม่ได้

                  รับการอนุญาตให้ทำาแบบสอบถามร่วมกันเด็ดขาด สำาหรับสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล เนื่องจากประชาชน
                  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถานที่ในการเก็บข้อมูลจึงเป็นบ้านพักส่วนตัวหรือ

                  สถานที่ที่มาติดต่อราชการ ก่อนการทำาแบบสอบถามผู้วิจัยดำาเนินการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                  รายละเอียดและแนวทางการตอบแบบสอบถาม ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและสิทธิส่วนบุคคลแก่

                  ผู้ตอบแบบสอบถามทราบ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามมีสิทธิ์ที่จะไม่ตอบคำาถามหรือให้สัมภาษณ์ในประเด็น
                  ใดที่ตนเห็นว่าจะมีผลกระทบและเมื่อแสดงความยินยอมเป็นผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยตามแบบแล้วจึง

                  เริ่มทำาการตอบแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยใช้วิธีการจดบันทึก และหากมีความต้องการจะบันทึกเสียงสัมภาษณ์
                  จะขออนุญาตผู้ให้ตอบแบบสอบถามทุกครั้งเป็นการเฉพาะ โดยจะใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ 15 นาที และ

                  ไม่ได้มอบของที่ระลึกหรือของตอบแทนใดๆแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ รวมถึงไม่บันทึกภาพตลอดการสัมภาษณ์





                  3.6 กำรวิเครำะห์ข้อมูล




                          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อทำาการเก็บรวบรวมข้อมูล

                  เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้ดำาเนินการตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็น
                  ข้อมูลที่ได้จากแหล่งปฐมภูมิ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ ที่ได้จาก

                  การศึกษาเชิงเนื้อหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งใช้การวิเคราะห์ ดังนี้

                          3.6.1 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic induction) โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นข้อสรุป

                  ชั่วคราว แล้วทำาการเชื่อมโยงข้อสรุปย่อยต่างๆ เพื่อแสดงความสัมพันธ์และนำาไปสู่ข้อสรุปที่กว้างขึ้น


                          3.6.2 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ (Comparative analysis) โดยการเปรียบเทียบข้อมูล

                  ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาในอดีตกับการเลือกตั้งในรูปแบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

                          3.6.3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ (Interpretative textual analysis) โดยการอธิบายและ

                  การวิเคราะห์อธิบายปรากฏการณ์ของผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย


                          3.6.4 การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนของแบบสอบถามใช้การอธิบายโดยใช้การแจกแจงความถี่
                  (Frequency distribution) และค่าร้อยละ (Percentage)
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79