Page 72 - kpiebook63032
P. 72
71
3.3.2 แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อคำาถามปลายเปิด เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถตอบ
ข้อคำาถามและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี เพื่อใช้ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ ซึ่งใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น
ประชาชน
3.4 กำรสร้ำง และตรวจสอบคุณภำพเครื่องมือ
3.4.1 ผู้วิจัยดำาเนินการศึกษา ทบทวน เอกสารหลักฐาน แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
สาระสำาคัญซึ่งประกอบด้วย การเลือกตั้ง พฤติกรรมการเลือกตั้ง พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และ
สถาบันทางการเมืองจังหวัดสระแก้ว ซึ่งล้วนมีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และดำาเนิน
การศึกษาประเด็นสาระสำาคัญเนื้อหาของกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อาทิ การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง การศึกษาเอกสารอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับการเมือง
ระดับชาติและจังหวัดสระแก้ว
3.4.2 ออกแบบและสร้างข้อคำาถามอย่างครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้
3.4.3 ทำาการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity)
3.4.4 ทำาการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัยตามคำาแนะนำาของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อความถูกต้อง สมบูรณ์
และตรงตามวัตถุประสงค์อย่างครอบคลุม
3.5 กำรเก็บรวบรวมข้อมูล
3..5.1 ศึกษาเนื้อหาเชิงกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องในทุกมิติของการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
3.5.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก ในการสัมภาษณ์เชิงลึกนี้ดำาเนินการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ได้เลือก
ไว้ในแต่ละกลุ่ม ทั้ง 3 กลุ่ม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น ดังนี้
3.5.2.1 ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้วิจัยดำาเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งสัมภาษณ์ครั้งละ 1 คน
เท่านั้นโดยผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ จะไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมการสัมภาษณ์เด็ดขาด