Page 106 - kpiebook63032
P. 106

105








                  จากการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่าเกิดขึ้นในรูปแบบของการให้ค่าตอบแทนเพื่อนำาประชาชน

                  ไปฟังปราศรัยของนักการเมืองและพรรคการเมือง ส่วนในมุมมองของประชาชน ที่สะท้อนออกมาในส่วน
                  ของการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองนั้นส่วนใหญ่แล้วไม่แน่ใจว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ เพราะ

                  กฎหมายมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและยากที่ประชาชนจะเข้าใจรวมถึงส่วนใหญ่ยังคงมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
                  เพราะเป็นเรื่องของการดำาเนินการของกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะประชาชนให้ความสนใจเพียง

                  นโยบายพรรคการเมือง การดำาเนินการของพรรคการเมือง การหาเสียง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดด้านนี้


                          ซึ่งจากการศึกษา คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำาหนดกรอบและประกาศระเบียบเกี่ยวการ
                  เงินเพื่อกำากับและควบคุมการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง โดยระเบียบที่ กกต.ออกมานั้นคือ ประกาศ

                  คณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องกำาหนดจำานวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  พ.ศ. 2561 กำาหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่าย

                  ในการเลือกตั้งไม่เกิน 1,500,000 บาท พรรคการเมืองต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  ไม่เกิน 35,000,000 บาท โดยรายละเอียดสำาหรับค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย 1) ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

                  รับเลือกตั้ง เช่น ค่าสมัครรับเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสมัครรับเลือกตั้ง 2) ค่าจ้างแรงงาน
                  เช่น ค่าจ้างผู้ช่วยหาเสียง ค่าจ้างในการปิดป้ายโฆษณาหาเสียง ค่าจ้างแจกใบปลิว แผ่นพับ รวมทั้ง ค่าจ้าง

                  แรงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 3) ค่าจ้างทำาของ เช่น ค่าจ้างทำาเสื้อแจ็กเก็ต หมวก และเสื้อยืด
                  หรืออื่นๆ สำาหรับผู้ช่วยหาเสียง เป็นต้น 4) ค่าโฆษณาในสื่อต่างๆ เช่น ค่าสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ค่าผลิตสื่อเพื่อ

                  การออกอากาศรวมถึงค่าโฆษณาอื่นที่เป็นการกระทำาเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น 5) ค่าจัดทำาป้าย
                  เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้ในการโฆษณาหาเสียง 6) ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ

                  ค่าบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูป ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม กูเกิ้ล แอปพลิเคชัน เป็นต้น
                  7) ค่าจัดซื้อหรือเช่าวัสดุ และอุปกรณ์สำาหรับใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง 8) ค่าเช่าสถานที่ และค่าตกแต่ง

                  สถานที่ เช่น ค่าเช่าสำานักงานเพื่อเป็นศูนย์รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ค่าเช่าสถานที่เพื่อปราศัยหาเสียง
                  เป็นต้น 9) ค่าเช่ายานพาหนะ ค่านำ้ามันเชื้อเพลิง หรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าจ้างเหมารถยนต์

                  เรือยนตร์หรือยานพาหนะอื่นๆ ค่านำ้ามันเชื้อเพลิง เพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง ค่าเช่าที่พัก เป็นต้น 10)
                  ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่านำ้าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการทางไปรษณีย์ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น

                  11) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำาหรับผู้ช่วยหาเสียง 12) ค่าอบรมผู้สมัครหรือผู้ช่วยหาเสียง และ 13)
                  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นเหตุให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและ

                  เที่ยงธรรม ซึ่งในส่วนนี้ผู้สมัครก็ได้ดำาเนินการตามที่ กกต. กำาหนด
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111