Page 139 - kpiebook63031
P. 139

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           138      จังหวัดอุบลราชธานี







                      ดังนั้น สรุปได้ว่า ผู้สมัครที่ย้ายพรรคการเมือง หรือเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมืองจาก

             พรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐประสบความล้มเหลวทั้งหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแม้แต่
             คนเดียว ไม่ว่าจะเป็น นางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ (บุตรสาวนายสุพล ฟองงาม

             อดีต ส.ส.อุบลราชธานี และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย) นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ บุตรชายของ
             นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย) หรือ

             นายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ปี 2554 เป็นต้น


                      แม้ว่า ข้อมูลจากการลงพื้นที่หาเสียง จะพบความไม่ยุติธรรมในการลงพื้นที่หาเสียง กล่าวคือ
             หน่วยราชการบางแห่งไม่เปิดโอกาสให้บางพรรคการเมืองเข้าไปใช้สถานที่หาเสียง เช่น กรณีข่าวการถูก

             ยกเลิกการให้ใช้สถานที่ของหน่วยราชการแห่งหนึ่งใน อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี หรือ การถูกปฏิเสธ
             ไม่ให้เข้าไปหาเสียงในเขตราชการแห่งหนึ่งใน อ.วารินชำาราบ และในหมู่บ้านบางแห่งในเขต อ.วารินชำาราบ

             จ.อุบลราชธานี

                      หรือ การเอื้อประโยชน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบางพรรค

             อาทิ พบ กรณีสมาชิกสภาเทศบาลบางแห่งเป็นหัวคะแนนให้กับผู้สมัครบางพรรค การให้ผู้สมัครบางพรรค

             มาปรากฏตัวเพื่อหาเสียงในงานที่ทางราชการได้จัดขึ้น โดยกำาหนดให้มาแค่พรรคเดียว รวมทั้งการใช้
             ผู้นำาชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ช่วยเป็นหัวคะแนน และดำาเนินการแจกเงินซื้อเสียง เป็นต้น


                      รวมทั้ง กรณีการใช้กำาลัง ประมาณ 5-6 คน เข้าตรวจค้นที่ทำาการบางพรรคการเมือง และ
             บ้านหัวคะแนนสำาคัญ ในเขตเลือกตั้งที่ 5 และ เขตเลือกตั้งที่ 7 ของจังหวัดอุบลราชธานี ช่วงวันที่

             20-21 มีนาคม 2562 เป็นต้น
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144