Page 44 - kpiebook63029
P. 44

43







                  บทที่ 3





                  ควำมเคลื่อนไหวทำงกำรเมืองของ



                  พรรคกำรเมืองในจังหวัดเลย


                  ก่อนกำรเลือกตั้ง


























                          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปี 2562 นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก
                  หลังรัฐประหารในปี 2557 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

                  ไทยฉบับปี 2560 ซึ่งผ่านการลงประชามติและเห็นชอบจากประชาชนทั้งประเทศมากถึง 16,820,402 เสียง
                  คิดเป็นร้อยละ 61.35 ของจำานวนผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด ขณะที่ผู้ไม่เห็นชอบมีเพียง 10,598,037 เสียง

                  หรือร้อยละ 38.65 เท่านั้น เมื่อพิจารณาผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในเขตจังหวัดเลย พบว่า
                  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเลยส่วนใหญ่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญมากถึง 158,394 เสียง

                  (ร้อยละ 54.19) ส่วนอีก 133,890 คน (ร้อยละ 45.81) เลือกที่จะไม่เห็นชอบ ขณะที่ประเด็นเพิ่มเติมว่า
                  ด้วยบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนในจังหวัดเลยส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะไม่เห็นชอบ จำานวน

                  135,520 เสียง (ร้อยละ 50.09) และเห็นชอบจำานวน 135,059 เสียง (ร้อยละ 49.91)  เมื่อพิจารณา
                                                                                              19
                  เปรียบเทียบผลการลงประชามติการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนในจังหวัดเลย

                  เมื่อปี 2550 และปี 2559 พบว่าในครั้งก่อนประชาชนในจังหวัดเลยส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่เห็นชอบมากกว่า
                  ขณะที่ครั้งหลังกลับเลือกที่จะเห็นชอบมากกว่า ซึ่งจังหวัดเลยกลายเป็น 1 ใน 5 จังหวัดในภาคอีสาน

                  ที่เลือกเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้





                  19  สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559, (กรุงเทพฯ: สำานักงาน
                  คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2559).
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49