Page 144 - kpiebook63029
P. 144

143








                            ประการที่ 3 เขตพื้นที่ใหญ่กระจัดกระจาย ความยากของการหาเสียง และความประมาท

                  ของพรรคเพื่อไทย


                            เขตเลือกตั้งที่ 3 ของจังหวัดเลยถือเป็นเขตที่มีความยากลำาบากต่อการหาเสียงมากที่สุด
                  และยังเป็นพื้นที่ที่มีความห่างไกลกันพอสมควร ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน

                  ความหนาแน่นของประชากรตำ่า การตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชนกระจัดกระจาย จึงทำาให้
                  เขตเลือกตั้งที่ 3 มีลักษณะเป็นแนวยาวมีขนาดพื้นที่มากกว่าเขตเลือกตั้งอื่นๆ เมื่อวัดระยะห่างของตำาบลที่

                  อยู่เหนือสุดและใต้สุด คือตำาบลบุฮม อำาเภอเชียงคาน และตำาบลกกสะทอน อำาเภอด่านซ้าย พบว่า ห่างกัน
                  เกือบ 200 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเกือบ 4 ชั่วโมง จึงเป็นสาเหตุที่ทำาให้ผู้สมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้งนี้

                  หาเสียงและเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ค่อนข้างลำาบาก ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมืองหนึ่งกล่าวว่า
                  “การมาลงเขตนี้ถือว่าท้าทายพอสมควร นอกจากจะมีคู่แข่งที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ทางการเมือง

                  มานานแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่กว้าง เดินทางค่อนข้างลำาบาก บางวันไปหาเสียงอยู่ที่อำาเภอนาแห้วตอน 9 โมง
                  เช้า มีคิวนัดหาเสียงที่อำาเภอเชียงคานช่วงบ่าย สุดท้ายต้องเลทไปเพราะไกลมาก ไปถึงก็เกือบเย็น ทำาให้เรา

                  ต้องขยันมากขึ้น ต้องวางแผนเป็นอย่างดี” (สัมภาษณ์ วันที่ 28 พฤษภาคม 2562) ผู้สมัคร ส.ส. คนดังกล่าว
                  ยังได้เล่าประสบการณ์การลงพื้นที่อีกว่า “ตอนลงพื้นที่ไปหาชาวบ้าน เขาเจอบางคนแทบร้องไห้ ผมก็ตกใจ

                  ว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่านานๆ ทีจะมีคนลงมาหาเขา มาถามความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เพราะหมู่บ้าน
                  เขาอยู่ไกล อยู่บนเขา เขาเลยดีใจ” (สัมภาษณ์ วันที่ 28 พฤษภาคม 2562)


                            เช่นเดียวกับ ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมืองหนึ่งที่เคยถูกวางตัวให้ลงสมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้ง

                  ที่ 3 กล่าวว่า “ตอนนั้นเขาวางตัวให้ผมลงเขต 3 เพราะเป็นพื้นที่เดิมของภรรยาผม แต่ผมไม่เอาเพราะ
                  มันไกลมาก กว้างมาก หาเสียงลำาบาก และมีเวลาน้อย ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าใครจะลง ปรีชาหรือ
                  ธนยศจะลง แต่ผมก็ปฏิเสธไป ผมเลยตัดสินใจย้ายพรรค พรรคใหม่เลยให้ผมลงเขตใน 1” (สัมภาษณ์

                  22 พฤษภาคม 2562) ความเห็นข้างต้นไม่แตกต่างจากนายสันติภาพที่ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้วิจัยถึงปัจจัย

                  ส่วนหนึ่งที่ทำาให้พ่ายแพ้การเลือกตั้งว่า “ความห่างไกลของพื้นที่ การเข้าถึงประชาชนลำาบาก ด้วยข้อจำากัด
                  ด้านเวลา และเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ที่ชาวบ้านอาจไม่รู้จัก เป็นส่วนหนึ่งที่ทำาให้ได้คะแนนน้อย” (สัมภาษณ์
                  22 พฤษภาคม 2562)


                             นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพรรคเพื่อไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่เดิมที่ครองฐานเสียงมานาน

                  มีความประมาทต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ และยังยึดติดว่าประชาชนจะยังเลือกพรรค มิใช่เลือกคนจาก
                  พรรคตรงข้าม คำากล่าวขานที่ว่า เอาเสาไฟฟ้ามาลงก็ได้ จึงใช้ไม่ได้อีกต่อไป แม้ประชาชนบางส่วนที่เคย

                  เลือกพรรคเพื่อไทยจะไม่หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐหรือประชาธิปัตย์เพราะถือว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม
                  ชัดเจน แต่ประชาชนก็มีตัวเลือกที่จะหันไปกาให้พรรคอื่นๆ ที่มีผู้สมัครโดดเด่นมากกว่าอย่างเช่น

                  นายธนยศ จากพรรคภูมิใจไทย หรือพรรคการเมืองที่มีแนวความคิดหรืออุดมการณ์ไปในทิศทางเดียวกัน
                  นั่นก็คือ พรรคอนาคตใหม่ แกนนำาหาเสียงพรรคการเมืองหนึ่งกล่าวว่า “พรรคเพื่อไทยมั่นใจในฐานเสียง

                  ของตนมากเกินไป แม้การเลือกตั้งที่ผ่านๆ มา ตั้งแต่ยุคไทยรักไทย พลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149