Page 130 - kpiebook63029
P. 130

129








                  ชนะคู่แข่งด้วยคะแนนเสียง 59,145 คะแนน ทิ้งห่างจากลำาดับ 2 ถึง 44,436 คะแนน เช่นเดียวกับ

                  การเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้เขตเลือกตั้งที่ 2 จะได้รับความสนใจมากขึ้นเพราะเป็นการแข่งขันระหว่างตระกูล
                  ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเลยระหว่างตระกูลทิมสุวรรณโดยมีนายศรัณย์ ลงสมัครในสังกัดพรรคเพื่อไทย และ

                  ตระกูลเร่งสมบูรณ์สุข โดยมีนางเปล่งมณี ลงสมัครในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ที่ทั้งคู่ต่างมีฐานเสียง
                  สำาคัญในเขตอำาเภอวังสะพุง แต่ผลการเลือกตั้งในภาพรวมยังไม่เกินความคาดหมาย เพราะนายศรัณย์

                  สามารถเอาชนะนางเปล่งมณีด้วยคะแนนเสียงมากถึง 55,514 คะแนน ขณะที่นางเปล่งมณีได้เพียง
                  31,105 คะแนนเท่านั้น ซึ่งต่างกัน 24,409 คะแนน ผลคะแนนดังกล่าวสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า ตระกูล

                  ทิมสุวรรณและพรรคเพื่อไทยยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในเขตเลือกตั้งที่ 2 แม้จะนายศรัณย์จะไม่เคย
                  มีประสบการณ์ทางการเมืองเลยและตลอดระยะเวลา 5 ปี หลังการรัฐประหารในปี 2557 พรรคเพื่อไทย

                  ก็ไม่ได้มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากถูกจำากัดการทำากิจกรรมทางการเมือง อีกทั้ง พรรคเพื่อไทย
                  ยังมีคู่แข่งซึ่งเคยเป็นอดีต ส.ส. จากตระกูลเร่งสมบูรณ์สุขที่อยู่ในสนามการเมืองของจังหวัดเลยมาอย่าง

                  ยาวนานก็ตาม


                          นอกจากการอาศัยบารมีของตระกูลทิมสุวรรณของนายศรัณย์แล้ว จุดเด่นของนายศรัณย์ คือ
                  การเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ สำาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยลำาดับต้นๆ ของประเทศ แม้เขาจะไม่เคย

                  หาเสียงมาก่อนและปราศรัยไม่เก่ง แต่อาศัยการเดินเท้าลงพื้นที่พบปะประชาชนด้วยกริยาที่นุ่มนวลก็เป็น
                  ส่วนหนึ่งที่ทำาให้นายศรัณย์ถูกใจในสายตาชาวบ้าน ซึ่งประชาชนคนหนึ่งกล่าวถึงนายศรัณย์ขณะลงพื้นที่

                  หาเสียงว่า “เคยเห็นนายศรัณย์เป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ไม่รู้จัก เห็นแต่ป้ายหาเสียงว่าเป็นนามสกุล
                  ทิมสุวรรณ ไม่คิดว่าอายุจะยังน้อย เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่ก็มีแต่อายุมากๆ ส่วนตัวก็อยากได้

                  คนรุ่นใหม่ไฟแรง มีแนวความคิดใหม่ๆ มาพัฒนาบ้านเมือง จังหวัดเลยบ้าง” (สัมภาษณ์ วันที่ 26 พฤษภาคม
                  2562) ขณะที่ประชาชนอีกคนหนึ่งได้กล่าวถึงลักษณะท่าทางการหาเสียงของนายศรัณย์ว่า “ดูเหมือน

                  เขาพูดไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ พูดนุ่มนวล แต่ดูมีความตั้งใจดี เขาก็เล่านโยบายให้ฟังว่าจะทำาอะไร เราก็ชอบนะ
                  รู้สึกใกล้ชิดชาวบ้าน จะได้มารับฟังปัญหา ส่วนคนอื่นไม่ค่อยเห็นลงพื้นที่เลย เห็นแต่รถหาเสียงมา

                  วิ่งไปวิ่งมา” (สัมภาษณ์ วันที่ 26 พฤษภาคม 2562)



                          ประการที่ 2 การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองและความนิยมที่ลดลงของเปล่งมณีและเร่งสมบูรณ์สุข


                          การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองจากพรรคเพื่อไทยไปพรรคพลังประชารัฐเป็นปัจจัยหลักที่ส่ง

                  ผลต่อคะแนนการเลือกตั้งของนางเปล่งมณีไปในทางลบไม่ต่างจากเขตเลือกตั้งอื่นๆ แม้ว่านางเปล่งมณี
                  จะเคยเป็นอดีต ส.ส. มาหลายสมัย มีประสบการณ์ทางการเมือง รู้จักพื้นที่มากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ก็ตาม

                  และเมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้ง ส.ส. ในปี 2554 พบว่า นางเปล่งมณีชนะนายสิทธิชัย สิทธิรัตน์ ผู้สมัคร
                  จากพรรคภูมิใจไทย ห่างกันเพียง 701 คะแนนเท่านั้น ขณะที่คะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่อของ

                  พรรคเพื่อไทยชนะพรรคการเมืองอื่นอย่างถล่มทลาย สะท้อนว่า คะแนนนิยมของนางเปล่งมณีลดลง
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135