Page 129 - kpiebook63029
P. 129

128      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








                      ข้อสังเกตการเลือกตั้ง มีดังนี้


                      ประการที่ 1 กระแสพรรคเพื่อไทย และบารมีของตระกูลทิมสุวรรณในพื้นที่


                      อย่างที่ทราบกันดีว่าจังหวัดเลยเป็นพื้นที่ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยอย่างเหนียวแน่นและ
             ยาวนานตั้งแต่ยุคพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนถึงยุคพรรคเพื่อไทยไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ

             ในภาคอีสาน นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ที่ครองพื้นที่ได้ทุกเขตเลือกตั้งในจังหวัดเลยและชนะด้วย

             คะแนนเสียงอย่างถล่มทลายทั้งแบบ ส.ส. เขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งที่ 2
             ที่ถือเป็นฐานเสียงหลักของตระกูลทิมสุวรรณ นอกจากนี้


                      ความนิยมส่วนบุคคลของตระกูลทิมสุวรรณจากการเคยเป็น ส.ส. ในพื้นที่มานาน การสร้าง
             เครือข่ายและบารมีด้วยการประสานผลประโยชน์ทางการเมืองและการทำางานกับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

             ตลอดจนกระแสพรรคเพื่อไทยในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2 ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำาให้ผู้สมัคร ส.ส.
             ไม่ว่าจะเป็นใคร หากแต่เป็นนามสกุลทิมสุวรรณก็มีโอกาสชนะสูงมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ และยิ่งลงสมัคร

             ในสังกัดพรรคเพื่อไทยแล้วก็ยิ่งเป็นการสร้างคะแนนเสียงให้กับตระกูลทิมสุวรรณได้เป็นอย่างดี ทำาให้
             การแข่งขันในเขตนี้ไม่ค่อยน่าสนใจมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเขตอื่นๆ ที่มีการแข่งขันกันสูงระหว่าง

             ผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่หลากหลาย ผู้นำาท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำาเภอวังสะพุงได้ให้สัมภาษณ์กับผู้วิจัย
             ถึงการแข่งขันทางการเมืองที่ผ่านมาในเขตเลือกตั้งที่ 2 ว่า “ปกติเขต 2 จะไม่ค่อยเป็นที่สนใจเท่ากับเขตอื่น

             เพราะถูกผูกขาดโดยตระกูลทิมสุวรรณมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ของเขา (นายสุรัตน์ ทิมสุวรรณ) เป็น
             สจ. จนมาถึงยุคธนเทพ และนันทนาก็เป็นมาหลายสมัย ชนะพินิจ สิทธิโห หลายหมื่นคะแนน ที่ผ่านมา

             คู่แข่งก็มีแต่พินิจ เห็นลงสมัครทุกครั้ง ไปพรรคนั้นบ้างพรรคนี้บ้างแต่ก็แพ้ทิมสุวรรณทุกครั้งและเยอะด้วย
             เขาเลยผูกขาดเขตนี้ อีกส่วนหนึ่งก็มีจากแรงสนับสนุนของการเมืองท้องถิ่น ทิมสุวรรณผูกขาดมานานมาก

             อาของเขาเป็นนายก อบจ. มาหลายสมัย อา คือ นายธนวุฒิ ทิมสุวรรณ เป็นน้องแท้ๆ ของนายธนเทพ
             ซึ่งเป็นพ่อนายศรัณย์ สรุปก็คือ ทิมสุวรรณมีฐานเสียงทั้งจังหวัด” (สัมภาษณ์ วันที่ 26 พฤษภาคม 2562)

             ผู้นำาท้องถิ่นคนดังกล่าวยังได้วิเคราะห์ความน่าจะเป็นต่อผลการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 ว่า “คงไม่เหนือ
             ความคาดหมายที่ตระกูลทิมสุวรรณจะชนะ เพราะเป็นพื้นที่ของเขา ความจริงเปล่งมณีอยู่เขต 3 แต่ครั้งนี้

             มาลงเขต 2 แข่งกับทิมสุวรรณ ฐานเสียงของเปล่งมณีมีแค่วังสะพุงซึ่งทับซ้อนกับทิมสุวรรณ เพราะบ้าน
             เขาก็อยู่วังสะพุงเหมือนกัน” (สัมภาษณ์ วันที่ 26 พฤษภาคม 2562) ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับ

             ผลการเลือกที่ผ่านมาที่ผู้สมัครจากตระกูลทิมสุวรรณชนะคู่แข่งอย่างถล่มทลายทิ้งห่างจากผู้สมัครพรรคอื่น
             อย่างน้อย 2 หมื่นคะแนน เช่น ในปี 2544 นายธนเทพ ทิมสุวรรณ สังกัดพรรคไทยรักไทย ชนะด้วย

             คะแนนเสียง 37,802 คะแนน ทิ้งห่างจากลำาดับ 2 ถึง 22,483 คะแนน หรือในปี 2548 นางนันทนา
             ทิมสุวรรณ สังกัดพรรคไทยรักไทย ชนะด้วยคะแนนเสียง 52,652 คะแนน ทิ้งห่างจากลำาดับ 2 ถึง 39,982

             คะแนน ต่อมาในปี 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ชนะด้วยคะแนนเสียง 91,786 คะแนน ทิ้งห่าง
             ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นมากถึง 69,034 คะแนน และในปี 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ยังสามารถ
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134