Page 11 - kpiebook63029
P. 11
10 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย
สามารถ “ฝ่ากระแส” ความนิยมของพรรคเพื่อไทย และเบียดชิงที่นั่ง ส.ส.ในจังหวัดเลยไปได้ ที่เป็นเช่นนี้
เนื่องเพราะบารมีของตระกูลทิมสุวรรณ และการสร้างเครือข่ายทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองระดับชาติ
และการเมืองในระดับท้องถิ่น รูปแบบความสัมพันธ์เช่นนี้นับได้ว่าเป็น “ผลผลิต” ของการกระจาย
อำานาจมาสู่การเมืองในระดับท้องถิ่นนับแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ทำาให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึง
ทรัพยากร (โดยเฉพาะงบประมาณ) ได้โดยตรง จึงทำาให้สามารถสร้างเครือข่ายทางการเมืองระดับท้องถิ่น
อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำานาจครอบคลุมทั้งจังหวัด
อย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยกรณีของนายธนยศ ผู้ชนะการเลือกตั้งในเขต 3 ที่แม้ว่า
จะไม่ใช่ฐานเสียงของตระกูลทิมสุวรรณโดยตรง ตลอดจนต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มีศักยภาพ โดยเป็นทั้ง
อดีต ส.ส. 9 สมัยคนหนึ่ง และผู้สมัครที่มีกระแสนิยมในปัจจัยด้านพรรคการเมืองในระดับสูง กระนั้นก็ดี
นายธนยศก็สามารถใช้เครือข่ายการเมืองท้องถิ่นของบิดาที่มีความมั่นคงและกว้างขวางในองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด กระทั่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากนี้ พลวัตประการหลังยังทำาให้เกิดข้อค้นพบ
ว่า ลักษณะความนิยมของพรรคการเมืองที่พยายามใช้นโยบายระดับชาติเพื่อหวังดึงคะแนนเสียงจาก
ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ โดยตรงอย่างพรรคเพื่อไทยกำาลังเสื่อมคลายลง ทว่ารูปแบบความสัมพันธ์ที่
เกิดขึ้นคือ ความพยายามประนีประนอมระหว่างพรรคการเมืองระดับชาติ และผู้นำาการเมืองท้องถิ่นที่มี
รูปแบบชัดเจนมากยิ่งขึ้น