Page 10 - kpiebook63029
P. 10

9











                  ในนามพรรคพลังประชารัฐ และตระกูลสังขทรัพย์ โดยมีนายทศพล สังขทรัพย์ อดีต ส.ส.เลย 7 สมัย

                  ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ในนามพรรคภูมิใจไทย


                             2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับเลือกตั้ง คือ การสังกัดพรรคการเมืองอันเป็นที่นิยมของ
                  ชาวอีสานคือ อดีตพรรคไทยรักไทย (ปัจจุบันคือพรรคเพื่อไทย) และการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์

                  ระหว่างพรรคการเมืองระดับชาติและการเมืองท้องถิ่น ในประเด็นแรก การเป็นผู้รับสมัครเลือกตั้งสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคเพื่อไทย ทำาให้ผู้สมัครฯ จากพรรคการเมืองดังกล่าววางใจได้ถึงความนิยม

                  ของชาวอีสานที่มีต่อพรรคฯ สะท้อนให้เห็นจากช่วงเวลาที่มีการจัดสรรผู้สมัครฯ ในนามของพรรคฯ ระหว่าง
                  ช่วงปลายปี 2561 ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ 1 อย่างนายเลิศศักดิ์ประเมินสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งและ

                  แสดงความมั่นใจว่าหากตนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของพรรค น่าจะสามารถเอาชนะเลือกตั้งได้อย่าง
                  แน่นอน แม้ภายหลังต้องย้ายเขตสมัครรับเลือกตั้งมายังเขตเลือกตั้งที่ 1 ที่ไม่ใช่พื้นที่เดิมของตนก็ตาม

                  ในประเด็นถัดมา คือ การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองระดับชาติและการเมืองท้องถิ่น
                  ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในการได้รับชัยชนะจาก “คนตระกูลทิมสุวรรณ” อันได้แก่ นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ

                  จากพรรคเพื่อไทยในเขตเลือกตั้งที่ 2 และนายธนยศ ทิมสุวรรณ จากพรรคภูมิใจไทย ในเขตเลือกตั้งที่ 3


                             3) ข้อความพิจารณาบางประเด็น อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและพรรคการเมือง
                  ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย

                  ครั้งนี้ ทำาให้มองเห็นพลวัตทางการเมืองผ่านโครงสร้างที่เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมทางการเมืองได้
                  พอสมควร โดยเฉพาะทำาให้มองเห็นภาพของการเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง หรือความพยายาม

                  “ลงหลักปักฐาน” หรือความเป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทย เพราะหาก
                  พิจารณาจากความพ่ายแพ้ของนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข พบว่า เขาเป็นอดีต ส.ส 9 สมัย และเคยสังกัด

                  พรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทยและพลังประชาชนในอดีต) มาก่อน ทว่าการย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
                  ที่มีอุดมการณ์เป็นขั้วตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทย เป็นเหตุให้ไม่สามารถอธิบายเหตุผลในการย้ายพรรค

                  ต่อประชาชนได้ และส่งผลอย่างมีนัยสำาคัญให้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ พลวัตประการต่อมา พบว่า
                  กฎเกณฑ์ในการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนระบบ

                  การเลือกตั้งจากระบบผสมที่มีการเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยแยกบัตร
                  เลือกตั้งสองใบ มาเป็นระบบจัดสรรปันส่วนผสมที่มีระบบเลือกตั้งทั้งสองรูปแบบ ทว่าใช้บัตรเลือกตั้งเพียง

                  หนึ่งใบ ทำาให้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนในคะแนนความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองและ
                  คุณสมบัติเฉพาะของผู้รับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ส่งผลให้ปัจจัยที่เป็นตัวตัดสินผลการเลือกตั้งจึงต้อง

                  ประกอบไปด้วยทั้งสองลักษณะ และในกรณีของจังหวัดเลย ปัจจัยชี้ขาดมีนำ้าหนักอยู่ที่คุณสมบัติเฉพาะตัว
                  มากกว่าการสังกัดพรรคการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเลือกตั้งที่ 3 เนื่องจากผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15