Page 112 - kpiebook63028
P. 112
111
พฤติกรรมกำรเลือกตั้ง: รูปแบบกำรหำเสียงของ
พรรคกำรเมืองและนักกำรเมือง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี ในครั้งนี้ ผู้วิจัยขอสรุปรูปแบบการหาเสียง
เป็นหลัก 4 รูปแบบ โดยมีการอธิบายประกอบในแต่ละหัวข้อ ดังนี้
1. การหาเสียงที่เน้น ผู้สมัครมาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ที่มีเงินทุน และใช้ระบบหัวคะแนน
อย่างเข้มข้น รูปแบบการหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีเครือข่ายการจัดตั้ง
คะแนนการเลือกตั้งอย่างเข้มข้นในเขตการเลือกตั้ง รูปแบบการเลือกตั้งนี้ ผู้สมัครมักไม่เน้นนโยบายของพรรค
มากนัก แต่เน้นความสำาคัญกับเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่น และเครือข่ายกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเครือข่ายนี้
มีความสัมพันธ์ต่อกันแบบการจัดสรรผลประโยชน์ในรูปแบบงบประมาณของท้องถิ่น เป็นหลัก รูปแบบดังกล่าว
เป็นรูปแบบการหาเสียงแบบดั้งเดิมที่มีการนำามาใช้ในการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา รูปแบบการหาเสียงแบบนี้
จะมีประสิทธิภาพมาก หากมีระบบราชการ เช่น กระทรวงมหาดไทย สำานักงานตำารวจแห่งชาติ คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง สนับสนุนการทำางานของหัวคะแนน ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและบางครั้งอาจจะไม่ตรงตามกฎหมาย
รวมถึงสกัดกั้นการหาเสียงของผู้สมัครจากพรรคการเมืองคู่แข่ง การหาเสียงรูปแบบนี้ ผู้สมัครสามารถคาดการณ์
คะแนนจัดตั้งได้ในระดับหนึ่ง มีข้อเสียในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสูง และจะขาดประสิทธิภาพเมื่อมี
กระแสความนิยมในพรรคของผู้สมัครในระดับชาติ ขาดความน่าเชื่อถือ
2. การหาเสียงที่เน้นนโยบายพรรคการเมืองอย่างเข้มข้น รูปแบบการหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นใน
พรรคการเมืองที่จัดตั้งใหม่ หรือไม่ใช่พรรคที่เกิดขึ้นหรือเติบโตในพื้นที่ของผู้สมัคร กล่าวคือ ไม่ใช่พรรค
ท้องถิ่นนิยม ขาดเครือข่ายหัวคะแนน ในเขตการเลือกตั้ง หรือมีเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นที่ไม่เข้มแข็งเพียงพอ
มีเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้งน้อย ผู้สมัครที่ใช้รูปแบบการหาเสียงนี้จะต้องอาศัย สื่อเป็นหลัก โดยเฉพาะ
สื่อมวลชน และสื่อสังคมสมัยใหม่ ในการนำานโยบายของพรรคไปขยายความสู่ประชาชน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. การหาเสียงที่เน้นตัวบุคคลผู้สมัครในเขตการเลือกตั้งอย่างเข้มข้น การหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นกับ
ผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ขาดเงินทุนในการหาเสียง รูปแบบการหาเสียงแบบนี้ ผู้สมัครที่เป็น
บุคคลพอมีชื่อเสียงในพื้นที่ เช่น เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการครู เป็นต้น
ผู้สมัครจะได้รับเป้าหมายคะแนนจากพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง ทั้งนี้ภายใต้ระบบการคำานวณสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่ จะมีการสะสมคะแนนเพื่อนำาไปคำานวณคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ
4. การหาเสียงที่เน้นตัวบุคคลที่เด่นดังในพรรคอย่างเข้มข้น การหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นกับ
ผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมืองขนาดเล็ก เป็นพรรคการเมืองเกิดใหม่ ที่ขาดเงินทุนในการหาเสียง รูปแบบ
การหาเสียงแบบนี้ ผู้สมัครซึ่งบางครั้งไม่เป็นที่รู้จักของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะลงสมัครเพื่อให้ปรากฏเบอร์
ในบัตรเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนน ผู้ลงคะแนนจะลงให้เนื่องจากความเด่นดังของบุคคลสำาคัญ
ในพรรค มากกว่านโยบายพรรคการเมือง ทั้งนี้ภายใต้ระบบการคำานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่
จะมีการสะสมคะแนนเพื่อนำาไปคำานวณคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ