Page 5 - kpiebook63013
P. 5

5





                                                     ค�ำน�ำ

















                        หนังสือ การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดทำาขึ้นจาก รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบของการเลือกตั้ง

                ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่: กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์สำาคัญของการวิจัย 6 ประการ คือ

                1. เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง ทั้งในส่วนของผู้ลงสมัครจากพรรคการเมืองต่าง ๆ การรณรงค์หาเสียง
                การร้องเรียน ความตื่นตัวและทัศนะของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อการเลือกตั้ง และความเคลื่อนไหวทาง
                การเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                2. เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด

                สุราษฎร์ธานี 3. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะและองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามา
                มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 4. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของ
                พฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

                กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ

                โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อให้เห็นมูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
                ราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 6. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง
                ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                        การดำาเนินการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ให้ข้อมูลจำานวนมากทั้งประชาชน

                ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีบทบาทสำาคัญในการจัด
                การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาที่ต่างได้สละเวลาให้ข้อมูลกับผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการวิจัย

                เป็นอย่างดีทุกครั้ง และขอขอบใจผู้ช่วยนักวิจัยทั้ง 6 คนที่มีความพยายามลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
                ในพื้นที่การเลือกตั้งทั้ง 6 เขตของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแบบซำ้าแล้วซำ้าเล่า ได้แก่ นางสาวชนกนันท์ ชัยณรงค์,

                นางสาวโสจิรัตน์ อินทร์แดง, นางสาวฐิติรัตน์ ศรีนวลปาน, นางสาวกวินธิดา ทองโมถ่าย, นางสาววรนุช เบ็ญจพันธ์
                และนาย อาทิตย์ สอนจันทร์ ในการนี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณสำานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้าที่กรุณาให้ทุน

                และให้โอกาสในการวิจัยในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
                ต้นสังกัดที่อนุญาตให้ผู้วิจัยได้ดำาเนินการวิจัยในเรื่องนี้ได้ และในท้ายที่สุดนี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน

                ที่กรุณาอ่าน ตรวจทาน และให้คำาชี้แนะที่เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงงานวิจัยฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น




                                                                                            กฤษฎา พรรณราย
                                                                                               นิติ มณีกาญจน์
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10