Page 114 - kpiebook63012
P. 114
114 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
จากจำานวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งฯ พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548,
พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 แสดงให้เห็นว่าในการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยาครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุด (ดังแผนภูมิ
ที่ 3) ทั้งนี้ สามารถแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความตื่นตัวในการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก โดยแม้ว่ารัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 จะบัญญัติให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่เช่นกัน
ในขณะเดียวจำานวนบัตรไม่เลือกผู้สมัครใดก็มีจำานวนลดลงจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2557 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ มีความต้องการในการเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมืองในเลือกตั้งครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม จำานวนของบัตรเสีย มีจำานวนเพิ่มมากขึ้นจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 (ร้อยละ 5.30)
ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความไม่เข้าใจในการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง บัตรเสียดังกล่าวจากการสังเกตการณ์
ของคณะผู้วิจัยพบว่า ส่วนหนึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อาจมีการใช้
ดุลยพินิจเรื่องการพิจาณาบัตรเสียที่ยังไม่ชัดเจน
แผนภูมิที่ 3 ร้อยละของจำานวนประชากรผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง บัตรเสีย และไม่ประสงค์ลงคะแนน
ตั้งแต่การเลือกตั้งฯ พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2562
90
80 78.45 77.60 78.76
74.30
70
60 61.83
50
40
30
20
10 10.56
4.82 4.56 5.30
2.43 2.18 2.66 2.87
0 0.72 1.27
2544 2548 2550 2554 2560
ผู้ใช้สิทธิ� บัตรเสีย vote no
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบจำานวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง บัตรเสีย และไม่ประสงค์ลงคะแนน ในแต่ละ
เขตเลือกตั้งพบว่า ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือ เขต 1 ร้อยละ 80.94 รองลงมา คือ เขต 3 ร้อยละ 78.76
และ เขต 2 ร้อยละ 77.21 (ตามตารางที่ 13)