Page 65 - kpiebook63011
P. 65

65







                  4.3 ข้อมูลกำรแบ่งเขตเลือกตั้งจำกรัฐธรรมนูญ


                  พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และรัฐธรรมนูญ

                  พ.ศ. 2560




                          โดยหลักการทั่วไปในการแบ่งเขตเลือกตั้งมีแนวทางการแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เขตเลือกตั้งแบบที่มี
                  ผู้แทนราษฎรได้คนเดียว (Single-member Districts) หรือที่เรียกว่า แบบแบ่งเขต กับแบบที่เขตเลือกตั้งหนึ่ง
                  มีผู้แทนได้หลายคน (Multi-member Districts) หรือ แบบรวมเขต นอกจากการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว

                  การเลือกใช้ระบบการเลือกตั้งยังเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อทั้งพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและโอกาส

                  ของพรรคการเมืองในการชนะการเลือกตั้งที่แตกต่างกันได้ แม้ในทฤษฎีแบบประชาธิปไตยจะมองว่าการจัดให้มี
                  การเลือกตั้งถือเป็นกระบวนการในรูปแบบของประชาธิปไตย ที่ให้ประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง
                  เลือกตั้งได้แสดงออกซึ่งความต้องการของตนเองในการเลือกตัวแทนของตนไปทำาหน้าที่นิติบัญญัติและบริหาร

                  ในระบบรัฐสภา หากแต่การออกแบบระบบการเลือกตั้ง การสร้างกลไกของการเลือกตั้งที่มักถูกกำาหนดเป้าหมาย

                  ของผลลัพธ์ทางการเมืองร่วมกับอำานาจและผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มการเมือง ชนชั้นนำา และพรรคการเมือง
                  มากกว่าแค่การเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำาให้ระบบเลือกตั้งที่ถูกออกแบบมาในบริบทการเมือง
                  ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจึงกลายเป็นเครื่องมือของการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองได้ สำาหรับประเทศไทย

                  การออกแบบระบบการเลือกตั้ง (Electoral System) มักเป็นไปตามสถานการณ์ทางการเมืองและสถานการณ์

                  ของอำานาจและผลประโยชน์ทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา ระบบเลือกตั้งถูกมองว่าเป็นกลไกสำาคัญในการ
                  จัดสรรอำานาจทางการเมือง ดังนั้น การเมืองไทยที่ผ่านมาถูกกำาหนดทิศทางและฐานอำานาจของผู้มีอำานาจ
                  และชนชั้นนำาผ่านการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่สามารถส่งผลต่อการแพ้หรือชนะของพรรคการเมืองและ

                  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                          ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ในการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ
                  ดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่

                  แบ่งออกเป็น 10 เขตเลือกตั้ง โดยมีการกำาหนดเขตเลือกตั้งเป็นกลุ่มอำาเภอ ดังนี้


                          เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำาเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตำาบลช้างเผือก ตำาบลสุเทพ ตำาบลศรีภูมิ ตำาบลป่าตัน
                  ตำาบลช้างม่อย ตำาบลพระสิงห์ ตำาบลช้างคลาน ตำาบลหายยา และตำาบลแม่เหียะ)


                          เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำาเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตำาบลวัดเกต ตำาบลหนองป่าครั่ง ตำาบลท่าศาลา ตำาบล

                  หนองหอย ตำาบลป่าแดด และตำาบลฟ้าฮ่าม) และอำาเภอสารภี


                          เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำาเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตำาบลสันผีเสื้อ), อำาเภอแม่ริม และอำาเภอแม่แตง
                  (ยกเว้นตำาบลแม่หอพระ)


                          เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำาเภอแม่แตง (เฉพาะตำาบลแม่หอพระ), อำาเภอพร้าว และอำาเภอสันทราย
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70