Page 87 - kpiebook63010
P. 87
86 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
7) การที่ทุกคะแนนเสียงมีความหมายอาจทำาให้การซื้อเสียงมีความคุ้มค่า เพราะคะแนนเสียง
ทุกคะแนนจะถูกนำามานับในการคำานวณที่นั่งของ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อด้วย
8) ทำาให้ ส.ส. จากพรรคเดียวกันต้องแข่งขันกัน เพราะหาก ส.ส. แบบแบ่งเขตชนะเลือกตั้งมาก ๆ
จะเหลือตำาแหน่งให้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อน้อยลง การเลือกตั้งในลักษณะนี้จึงทำาลาย
ความสามัคคีของผู้สมัคร ส.ส. จากทั้งสองระบบในพรรคเดียวกัน (เพิ่งอ้าง)
2.4 กฎหมำย ค�ำสั่ง ระเบียบ และประกำศที่เกี่ยวข้องกับ
กำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎร พ.ศ. 2562
2.4.1 รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีที่มาจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยคณะกรรมการ
ร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธาน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่
7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
มีประเด็นโดดเด่นต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า และสมควรถูกพิจารณา ดังนี้
1) ระบบการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการเลือกตั้งแบบผสม ระหว่างแบบเสียงข้างมากธรรมดา
ที่ใช้ในการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีจำานวน 350 คน แต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน โดยมาจาก
การลงคะแนนเสียงของประชาชนซึ่งลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละ 1 คะแนน ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด
ในเขตนั้นจะได้เป็น ส.ส. ของเขตนั้น ๆ อีกแบบหนึ่งคือ ส.ส. บัญชีรายชื่อ มีจำานวน 150 คน ซึ่งผู้สมัคร ส.ส.
แบบบัญชีรายชื่อมาจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจัดทำามา
การเลือกตั้งมีบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ ใช้สำาหรับเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่คะแนนเสียง
ที่พรรคการเมืองนั้น ๆ ได้รวมกันจากทุกเขต จะนำาไปใช้คำานวณที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง
พรรคนั้นจะได้ด้วย
มาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติวิธีการคำานวณหา ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละ
พรรคการเมืองไว้ ดังนี้