Page 308 - kpiebook63010
P. 308

307








                           โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนหรือไอลอว์ (iLaw) ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2552 ในช่วงต้น

                  กิจกรรมไอลอร์คือ การรวบรวมรายชื่อและการสนับสนุนจากสังคมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ ilaw.or.th
                  เพื่อผลักดันการเข้าชื่อเสนอจุดหมายที่มีจุดเริ่มต้นมาจากประชาชนและเครือข่ายประชาสังคม ในช่วงต้นกิจกรรม

                  ของไอลอร์ยังไม่ได้ความสนใจเท่าที่ควร แต่ไอลอร์ก็ยังคงด�าเนินกิจกรรมการผลักดันการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
                  ตามประเด็นต่าง ๆ ต่อมา นอกจากนั้นไอลอร์ได้ขยายการท�างานในประเด็นเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก

                  สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และไอลอร์เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจาก
                  การรัฐประหารปีพ.ศ. 2557 เพราะการพิจารณาคดีทางการเมืองอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก กิจกรรมของไอลอร์

                  เช่น การจับตาการร่างกฎหมาย และเปิดพื้นที่การรับรู้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมให้มากที่สุด (iLaw 2562ค)






                  3.3.1 เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งหรือแอนเฟรล (ANNFREL- Asian Network


                  for Free Elections)


                          จากรายงานฉบับสมบูรณ์ของคณะผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งระหว่างประเทศของแอนเฟรล
                  ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 ของประเทศไทย ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แอนแฟรลมีผู้ร่วมสังเกตการณ์ทั้งหมด

                  34 คน โดยประกอบด้วยนักวิเคราะห์การเลือกตั้ง 2 คน ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 45 วัน คณะผู้สังเกตการณ์คณะแรก

                  8 คน ท�าหน้าที่ 14 วัน และคณะที่สองจ�านวน 24 คน ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 10 วัน

                          แอนแฟรล แบ่งการสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้ออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ 1. กฎหมายและการ

                  จัดการเลือกตั้ง 2. บรรยากาศการเลือกตั้ง และ 3. กระบวนการลงคะแนน


                          1. กฎหมายและการจัดการเลือกตั้ง


                          ค�าสั่งห้ามชุมนุมและการท�ากิจกรรมทางการเมืองบังคับใช้ตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ถูกยกเลิก
                  ในวันที่ 11 ธันวาคม 2561 แต่มีค�าสั่งหรือประกาศ เช่น ประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 ที่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์

                  การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห้ามการน�าเสนอข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
                  ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปันให้เกิดความขัดแย้งหรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร


                          ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2560 เปิดช่องให้มีนายกคนนอกได้ ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญไม่เปิดโอกาสให้

                  ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น การร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ฟังเสียงประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมเพลงลงประชามติ
                  เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งผู้ออกมาลงเสียงประชามติเพียงร้อยละ 59 นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2560

                  เป็นรัฐธรรมนูญยังจ�ากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการสมาคม และตีความได้กว้างขวาง

                          นอกจากนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้มีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ไม่ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็น

                  จากประชาชน ซึ่งมีการเปิดเผยเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313