Page 215 - kpiebook63010
P. 215
214 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
สรุป
จากตัวอย่าง แผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์ของแต่ละพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในเขตพื้นที่
กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าเรื่องข้อจ�ากัดของพื้นที่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างป้ายหาเสียง
กับแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์ ด้วยพื้นที่ที่มากกว่าจึงท�าให้เห็นถึงรายละเอียดมากขึ้น นอกจากนั้น
ทั้งแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์ค่อนข้างมีรูปแบบที่หลากหลาย มีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน
ของแต่ละพรรค โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย ดังต่อไปนี้
1) ขนาด การวางตัวอักษร การเน้นตัวอักษรด้วยขนาดตัวอักษรขนาดใหญ่ ทั้งยังใช้โทนสีที่เพิ่มความ
น่าสนใจ สีที่เน้นตัวอักษรสร้างความรู้สึกให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจัง การใช้โทนสีของทั้งแผ่นพับ แผ่นพก
และโบวชัวร์มีความแตกต่างกันไป ตามสีของพรรค ส่วนใหญ่แล้วแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์ของผู้สมัคร
รับเลือกตั้งแต่ละพรรคการเมืองจะน�าโทนสีของพรรคมาใช้ ซึ่งการใช้โทนสีสอดคล้องหรือเป็นไปในทางเดียว
กับป้ายหาเสียง เช่น พรรคอนาคตใหม่ ที่ใช้โทนสีส้ม ขาว ทั้งแผ่นพับและป้ายหาเสียง หรือพรรคประชาธิปัตย์
ที่ใช้โทนสีฟ้า ขาวเป็นหลักทั้งในแผ่นพับและป้ายหาเสียง
2) ทั้งแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายมากกว่าป้ายหาเสียง เนื่องจาก
ข้อจ�ากัดด้านพื้นที่ของแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าป้ายหาเสียง ดังนั้นป้ายหาเสียงจึงต้อง
ใช้ค�าหรือประโยคที่มีความจูงใจ และเชิญชวนให้ติดตามต่อซึ่งเป็นการใช้ค�าน้อยค�า ส่วนแผ่นพับ แผ่นพก
และโบวชัวร์ท�าหน้าที่ขยายความสนใจต่อจากป้ายหาเสียงอีกทีหนึ่ง นอกจากนั้น นโยบายที่ปรากฏอยู่บนแผ่นพับ
แผ่นพก และโบวชัวร์ของแต่ละพรรคมีความหลากหลาย เช่น บางพรรคจะเน้นนโยบายเกี่ยวกับปากท้อง
การท�ามาหากิน อย่างพรรคเศรษฐกิจใหม่ นโยบายทั้งป้ายหาเสียงและแผ่นพับจะสอดคล้องกับชื่อพรรค
ส่วนพรรคอนาคตใหม่ ก็เน้นเรื่องการสร้างสวัสดิการให้แก่ประชาชน
3) นอกจากแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายแล้ว ถ้าเป็นแผ่นพับ
แผ่นพก และโบวชัวร์ของผู้สมัครในเขตพื้นที่นั้น ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแนะน�าตัวผู้สมัคร เช่น ประวัติส่วนตัว
การศึกษา และประสบการณ์หรือการท�างานที่ผ่านมา และภาพกิจกรรมการลงพื้นที่ ส่วนในบางพรรคจะมีการ
ให้ผู้สมัครเล่าถึงประวัติส่วนตัวของตนเองอย่างคร่าว ๆ และกล่าวถึงสิ่งที่จะพัฒนาในเขตพื้นที่ ถ้าตนได้รับเลือก
เป็นผู้แทนราษฎร เช่น ในแผ่นพับของพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ผู้สมัครเล่าถึงประวัติตนเองและความในใจ
4) ช่องทางการติดต่อสื่อสารของพรรคหรือผู้สมัคร โดยส่วนใหญ่แล้วทั้งแผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์
ของแต่ละพรรคจะมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ และการติดต่อผ่านช่องทาง
ออนไลน์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แผ่นพับ แผ่นพก และโบวชัวร์จะมีการติดต่อผ่านทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการสแกน
คิวอาร์โค้ดเพื่อเชื่อมต่อไปยังเฟซบุ๊กหรือไลน์ของผู้สมัครหรือของพรรคการเมือง มากกว่าการให้ช่องทาง
การติดต่อทางโทรศัพท์ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งเข้ากับผู้คนในยุคสมัย แต่ก็มีบางพรรคที่ไม่ได้ให้
ช่องทางการติดต่อสื่อสารไว้ในเอกสารเหล่านั้นเลย เช่น พรรคเสรีรวมไทย โดยภาพรวมแล้วเรื่องช่องทาง
การติดต่อสื่อสารทางออนไลน์ถูกน�ามาใช้มากที่สุด