Page 170 - kpiebook63009
P. 170

170      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







             ประเสริฐสุวรรณ น้องชาย ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคไทยรักษาชาติ (ซึ่งถูกยุบพรรค) และ

             ตระกูล “เที่ยงธรรม” ที่นายจองชัย เที่ยงธรรม บิดา ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคภูมิใจไทย ขณะที่
             นายเสมอกัน เที่ยงธรรม บุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคชาติไทยพัฒนา




                      3. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง พบว่า ภายหลังจากมีการตรวจสอบ
             คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้นจำานวน 103 คน

             โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 76.7 กลุ่มที่มีจำานวนมากที่สุดอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 33.0


                      ทุกเขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จำานวนเท่ากัน คือ
             25 คน จาก 25 พรรค โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีอายุระหว่าง 25-68 ปี

             เขตเลือกตั้งที่ 2 มีอายุระหว่าง 37-65 ปี เขตเลือกตั้งที่ 3 มีอายุระหว่าง 29-75 ปี และเขตเลือกตั้งที่ 4
             มีอายุระหว่าง 35-74 ปี ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อายุน้อยที่สุด คือ อายุ 25 ปี ขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อายุมาก

             ที่สุด คือ อายุ 75 ปี ทั้งนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเพียงผู้สมัครรับเลือกตั้งจำานวน 4 คน
             ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี




                      4. ผลการสัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในประเด็นต่างๆ มีดังนี้


                         4.1  เหตุผลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง พบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยเหตุผล
                             หลายประการ เช่น เป็นตระกูลการเมืองที่ทำางานมาอย่างต่อเนื่องสืบทอดกันมานับจากรุ่นบิดา

                             ต้องการขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุน อยู่ในแวดวงการเมืองทำางานการเมืองมาตั้งแต่ในระดับ

                             การเมืองท้องถิ่น ต้องการสืบทอดเจตนารมณ์ทางการเมือง ความศรัทธาในพรรคการเมือง
                             การให้ความช่วยเหลือ ความต้องการพัฒนาพื้นที่ที่ยังมีความขาดแคลน รวมถึงความต้องการ
                             ในการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ผ่านมาสังคมไม่มีทางออกของการแบ่งขั้วทางการเมือง

                             และต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนรุ่นใหม่

                         4.2  นโยบายที่ใช้ในการหาเสียง พบว่า ใช้นโยบายที่พรรคกำาหนด สโลแกนประจำาตัว

                             และความสัมพันธ์ส่วนตัว

                         4.3  วิธีการหาเสียง พบว่า มีการใช้ทั้งสื่อเอกสาร สื่อป้ายหาเสียง สื่อรถโฆษณาหาเสียง
                             การใช้สื่อบุคคล ด้วยการลงพื้นที่ อาศัยเครือญาติ เพื่อนสนิท นักการเมืองในระดับท้องถิ่น

                             และการใช้สื่อสังคมออนไลน์

                         4.4  บุคคล/บุคคลกลุ่มที่ช่วยสนับสนุนการเลือกตั้ง พบว่า ได้แก่ กลุ่มกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน

                             นักการเมืองท้องถิ่นทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติ ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175