Page 96 - kpiebook63008
P. 96
96 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
กรณีดังกล่าวจึงไม่สามารถประเมินได้ว่า ถึงสุดแล้ววรสุดา สุขารมณ์จะประสบความสำาเร็จทางการเมือง
มากน้อยเพียงใด ในขณะที่พลโทมะ โพธิ์งามนั้นแม้ว่าจะเคยลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 1
ของจังหวัดกาญจนบุรีฯ หากแต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาก็มิได้ลงสมัครรับเลือกในระบบเขตอีกเลย สิ่งที่
น่าสนใจก็คือ หากพิจารณาจากผลการเลือกตั้งและคะแนนเสียงที่ผู้สมัคร ส.ส. ได้รับนับจากปี 2544 เป็นต้นมา
จะพบว่าปัจจัยด้านการสังกัดพรรคการเมืองนั้นมีผลต่อการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคะแนนเสียง
ที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทยและพรรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค นั่นหมายความว่าประชาชนในพื้นที่
เลือกตั้งเขต 1 นั้นให้ความสำาคัญกับการพิจารณา “พรรคการเมือง” เป็นลำาดับแรก ๆ ในการลงคะแนนเสียง
ลำาดับถัดมาจึงเป็นการเลือก “ตัวบุคคล” ซึ่งในนัยยะดังกล่าว ตัวบุคคลที่เป็นผู้ลงสมัครรับตั้งตั้งเป็นผู้ที่มีบทบาท
สำาคัญในกิจกรรมต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยในชื่อเสียงในหมู่ประชาชน
สำาหรับตระกูลการเมืองที่เคยประสบความสำาเร็จในการเลือกตั้งที่สำาคัญในอดีต แต่ปัจจุบัน
ไม่ประสบความสำาเร็จทางการเมือง อาทิ ตระกูล “เป้าอารีย์” นั้น เคยชนะการเลือกตั้งในปี 2522
(นายชวิน เป้าอารีย์ เขต 3) ในสังกัดพรรคกิจสังคม และการเลือกตั้งปี 2531 (นายชวิน เป้าอารีย์ เขต 4)
ภายใต้สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายที่ประสบความสำาเร็จ หลังจากนั้นก็ไม่ประสบความสำาเร็จ
ในการเลือกตั้งอีกเลย เช่นเดียวกับตระกูลการเมืองอย่าง “สุขารมณ์” โดยการนำาของนายแพทย์เดชา สุขารมณ์
ซึ่งประสบความสำาเร็จด้วยการได้รับเลือกเป็น ส.ส. (1) การเลือกตั้ง 23 มีนาคม 2535 ภายใต้สังกัดพรรคชาติไทย
(2) การเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 (3) 2 กรกฎาคม 2538 (4) การเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน 2539 หลังจากนั้น
ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคชาติไทย 1 สิงหาคม 2543 โดยย้ายไป (5) สังกัดพรรคไทยรักไทย ลงสมัครรับเลือกตั้ง
เขตที่ 1 ชนะและดำารงตำาแหน่ง ส.ส. สมัยที่ 5 ในการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544 (เลือกตั้งใหม่ 29 มกราคม 2544)
(ชงคชาญ สุวรรณมณี และอริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า, 2548, หน้า 146-147) อย่างไรก็ตาม นับจากชนะเลือกตั้ง
เป็น ส.ส. ในปี 2544 และได้ย้ายพรรคไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งปี 2550 ขณะที่
วรสุดา สุขารมณ์ ลูกสาวได้เข้าสู่สนามการเมืองด้วยการลงสมัคร ส.ส. เขต 1 ในการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งเป็นพื้นที่
ที่บิดามีฐานเสียงสนับสนุนจำานวนไม่น้อย หากแต่การลงสมัครในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินก็ไม่สามารถ
ชนะการเลือกตั้งได้ (ณัฐพงศ์ บุญเหลือ และสุวิชา วรวิเชียรวงษ์, 2559)
สำาหรับตระกูลการเมืองสำาคัญสำาคัญ ๆ เช่น “จีนาภักดิ์” โดยสันทัด จีนาภักดิ์ นั้นได้รับการเลือกตั้งเป็น
ส.ส. 5 สมัย ประกอบด้วย (1) การเลือกตั้ง 1/2535 (22 มีนาคม 2535) และ (2) 2/2535 (13 กันยายน 2535)
ภายใต้สังกัดพรรคชาติไทย และหลังการย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยใน (3) การเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544
(4) การเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 และ (5) การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน
(ชงคชาญ สุวรรณมณี และอริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า, 2548, หน้า 146-147) ดูตาราง 4.1 และ 4.2 ประกอบ