Page 92 - kpiebook63008
P. 92

92       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







                      ส�าหรับการเปลี่ยนแปลงการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ผลจากการยุบพรรคไทยรักษาชาติ

             ไปเป็นผู้สมัครจากพรรคอื่นนั้น โดยข้อเท็จจริงสำาหรับประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรีนั้นนับว่าเป็นเรื่อง
             ยากที่มีผลต่อการตัดสินใจด้วยเห็นว่า “ตัวเลือกทางการเมืองที่เป็นตัวผู้สมัคร ส.ส. ที่โดดเด่นมีเฉพาะในส่วนของ

             พรรคไทยรักษาชาติ พรรคภูมิใจและที่สำาคัญที่สุดคือพรรคพลังประชารัฐ” ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่มี
             อยู่นั้น มิได้มีโดดเด่นแต่อย่างใด แม้กระทั่งในส่วนของ “พรรคอนาคตใหม่” ที่มีความโดดเด่นหรือกระแสของพรรคฯ

             และตัวผู้นำาพรรคในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ หากแต่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น นับว่ากระแสการตอบรับยังอยู่
             ใน “ระดับปานกลาง” เท่านั้น กล่าวคือ กระแสของคะแนนเสียงสนับสนุนจากประชาชนในการตัดสินใจว่า

             จะลงคะแนนให้หรือไม่นั้น ยังคงมีลักษณะคลุมเครือ/กำ้ากึ่งระหว่างการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนเสียงให้หรือไม่
             ในขณะเดียวกันก็ยังต้องตัดสินใจเลือกว่าจะยังคงสนับสนุนผู้สมัครที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเคยลงคะแนนเสียง

             ให้ในการเลือกตั้งปี 2554 ดีหรือไม่ ทั้งนี้ฐานคิดมาจากการพิจารณาว่าเมื่อตัดสินใจเลือกนั้น “อะไรคือตัวเลือก
             ที่ดีที่สุด สำาหรับพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านหรือท้องถิ่น” ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวนี้ทำาให้ในท้ายที่สุดผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง

             ด้วยการได้คะแนนเสียงสนับสนับสนุนมากที่สุดนั้น จึงเป็นผู้สมัครจาก “พรรคพลังประชารัฐ” และ “พรรคภูมิใจไทย”
             ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น ๆ ได้คะแนนเสียงไม่มากพอที่จะชนะการเลือกตั้ง






             โครงสร้ำงตระกูลกำรเมือง หรือเครือข่ำยทำงกำรเมืองในเขต



             พื้นที่จังหวัดกับกำรเปลี่ยนแปลงสังกัดพรรคกำรเมือง




                      สำาหรับประเด็นดังกล่าวนี้ รูปแบบความสัมพันธ์ของการเป็นตระกูลการเมืองนั้น หากพิจารณาจาก
             การเป็นตระกูลการเมือง พบว่า กลุ่มตระกูลการเมืองของจังหวัดกาญจนบุรีที่สำาคัญในปัจจุบัน ประกอบด้วย

             (1) กลุ่มตระกูลโพธิพิพิธ (2) กลุ่มตระกูลรัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (3) กลุ่มตระกูลโพธารากูล (4) กลุ่มตระกูลพิมพ์พิสิฐถาวร
             ในขณะที่นักการเมืองคนสำาคัญที่มีชื่อเสียงแม้ว่าจะมีพื้นฐานในความเป็น “ตระกูลการเมือง” หรือ “ตระกูล

             นักการเมือง” เก่าแก่ของจังหวัดแต่ก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่ยังคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์บทบาทและการยอมรับ
             จากประชาชนในพื้นที่ เช่น ทายาทตระกูลสุขารมณ์ โดยวรดา สุขารมณ์  บุตรสาวของนายแพทย์เดชา สุขารมณ์
                                                                      34
             อดีต ส.ส. และรัฐมนตรีฯ ของจังหวัดฯ นอกจากนี้ยังมีตระกูล “จีนาภักดิ์” ตระกูล “เดชกิจสุนทร” นักการเมือง
             ในตระกูลเหล่านี้ ล้วนเติบโตและพัฒนาตนเองจากการเป็น “นักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดฯ” ในขณะที่ตระกูล

             “มนตรีวัต” มิได้กล่าวได้ว่าเป็นตระกูลการเมืองได้มากนัก เนื่องจากการเป็นนักการเมืองและความสำาเร็จทางการเมือง
             มีลักษณะเป็น “ความสามารถ” เฉพาะตัวของพลตรีศรชัย มนตรีวัตมากกว่าการเป็นตระกูลการเมืองของจังหวัด



             34  ในการเลือกตั้งปี 2554 ลงสมัครฯ เขต 1 ภายใต้สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 7.95
             ของประชาชนผู้มาลงคะแนน ในขณะที่ผู้ชนะการเลือกตั้งคือ พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ สังกัดพรรคเพื่อไทยที่ได้คะแนนร้อยละ
             43.59 และนายอัฏฐพล โพธิพิพิธ จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 43.37
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97