Page 75 - kpiebook63007
P. 75
75
4.1.2 ควำมเคลื่อนไหวทำงกำรเมืองในแต่ละเขต
การเลือกตั้งครั้งนี้จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ถูกปรับลดจำานวน ส.ส. และเขตการเลือกตั้งลง จาก ส.ส.
6 คน 6 เขต เหลือ ส.ส. 5 คน 5 เขต ทำาให้เกิดปรากฏการณ์การย้ายพรรคเกิดขึ้น ไปสังกัดพรรคการเมืองใหม่
ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการรัฐประหารหรือเปลี่ยนขั้วอำานาจทางการเมือง มักมีการเปลี่ยนแปลง กฎ กติกาตาม
ผู้มีอำานาจกำาหนด เช่น เขตการเลือกตั้ง ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ในอดีต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 – ปัจจุบัน
กาฬสินธุ์ มีการแบ่งเขต เลือกตั้ง 2 เขต – 6 เขต มีจำานวน ส.ส. ตั้งแต่ 4 คน – 6 คน แล้วแต่ผู้มีอำานาจกำาหนด
เช่น ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง 6 เขต มี ส.ส. 6 คน ในการเลือกตั้ง
วันที่ 23 ธันวาคม 2550 แบ่งเขตการเลือกตั้ง 2 เขต มี ส.ส. 6 คนในการเลือกตั้ง วันที่ 3 กรกฎาคม 2554
แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 6 เขต มี ส.ส. 6 คน ในปัจจุบัน การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 แบ่งเขตการเลือกตั้ง
เป็น 5 เขต มี ส.ส. 5 คน ทำาให้นึกถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2519, 2522, 2529 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มี ส.ส. 5 คน
บรรยากาศในการเลือกตั้งช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความตื่นตัวสูงมาก มีการรณรงค์
ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งจัดกิจกรรมทุกหมู่บ้าน ทุกอำาเภอ การเลือกตั้งในครั้งนี้ประชาชนให้
ความสนใจมาก ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าจะไปใช้สิทธิ์แน่นอน จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูล
ให้กับสถาบันพระปกเกล้า ในการเลือกตั้งในครั้งนี้พรรคการเมืองเด่นในปัจจุบัน คงปฏิเสธพรรคเพื่อไทยไม่ได้
เพราะเป็นเจ้าของฐานเสียงเดิม ในอดีต ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย มีจำานวน 6 คน แต่เนื่องจากมีการปรับลด
เขตเลือกตั้ง ประกอบกับมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น คือ พรรคพลังประชารัฐ ทำาให้มี นายนิพนธ์ ศรีธเรศ
อดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย ย้ายพรรคไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ โดยให้เหตุผลกับประชาชนว่าเพื่อให้บ้านเมือง
สงบสุขและยุติการขัดแย้ง และเชื่อมั่นในนโยบายพรรคพลังประชารัฐ และมีนักการเมืองและข้าราชการ
หลายคน ได้ย้ายพรรคไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ เช่น นายจำาลอง ภูนวนทา อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
นายชานุวัฒน์ วราวิตร อดีตสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ซึ่งดูจากชื่อแล้วพรรคพลังประชารัฐ ถือว่ามาแรงแต่จะแซง
ทางโค้งหรือไม่ ต้องวัดกันที่ปลายปากกาประชาชน พรรคอื่นที่อาจสอดแทรกในพื้นที่ได้อาจเป็นพรรคน้องใหม่
เช่น พรรคพลังท้องถิ่นไท ที่มีอดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีต ส.ส. หลายสมัย และอดีต นักการเมืองท้องถิ่น เป็นพรรค
ที่อาจสามารถสอดแทรกขึ้นมาได้ อีกพรรคที่ถือว่าเก๋าเกมทางการเมือง นั้นคือพรรคภูมิใจไทย ที่มี อดีต ส.ว.
นำาทีมโดย นายวิรัช พิมพะนิตย์ ถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว สำาหรับพรรคเพื่อไทย ซึ่งมี อดีต รมช. กระทรวงศึกษาธิการ
นางบุญรื่น ศรีธเรศ เป็นเจ้าของฐานเสียงเดิมกาฬสินธุ์ ซึ่งคงต้องจับตากันให้ดี อาจมีพลิกล็อค และมี
ตัวสอดแทรก คือ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคที่มาแรงโดนใจวัยรุ่น คือ พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งขอเสนอสถานการณ์
ไล่เรียงตามเขตการเลือกตั้ง ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 พื้นที่เดิมของ นางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ เป็น ส.ส.
หลายสมัยของพรรคเพื่อไทย มีคู่แข่งที่สำาคัญ คือ นายวิรัช พิมพะนิตย์ อดีต ส.ว.กาฬสินธุ์ ถือเป็นคู่ท้าชิง
ตลอดกาล ครั้งนี้ย้ายมาสวมเสื้อพรรคภูมิใจไทย ซึ่งวิเคราะห์การเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นครั้งแรกที่นายวิรัช พิมพะนิตย์
ได้เปรียบนางบุญรื่น ศรีธเรศ เพราะด้วยวัยของนางบุญรื่น ศรีธเรศ และทราบว่าป้ารื่นจะไม่ลงแข่งขันในครั้งนี้
ซึ่งจะเอาลูกชายลงแทน แต่เนื่องจากพรรคมีมติให้นางบุญรื่น ศรีธเรศ จึงต้องจำาใจ ด้วยอายุที่มากประกอบกับ