Page 114 - kpiebook63006
P. 114

114   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             บิดาและพี่ชาย กลับเป็นเขต 7 ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากประเมินแล้วว่า เขต 8 พล.ต.ต.สุรินทร์

             พรรคประชาธิปัตย์มีบารมี มีคุณสมบัติส่วนตัวที่ยากจะเอาชนะได้เพราะ เท่ากับต้องแข่งทั้งกับกระแส
             ความนิยมของพรรคและความนิยมในตัวผู้สมัคร ในขณะที่เขต 7 คู่แข่งคือ ศิริโชค โสภา พรรคประชาธิปัตย์

             โดยประเมินแล้วว่าได้รับการเลือกตั้งในสมัยต่างๆ ที่ผ่านมาจากกระแสความนิยมที่มีต่อพรรคเป็นปัจจัย
             สำาคัญ ในขณะที่บทบาท การทำางานในพื้นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่า ละเลยความสนใจที่มี

             ต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่ปรากฏตัวร่วมงานต่างๆ ที่ชุมชนหรือประชาชนในพื้นที่จัดขึ้น แต่ในที่สุดอัศวิน
             ก็ไม่สามารถนำาพรรคเพื่อไทยเข้าไปเบียดแทรกพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่สงขลาได้


                      การเลือกตั้งในปี 2562 นี้ อัศวิน เปลี่ยนเขตเลือกตั้งมาลงสมัครเขต 8 และเปลี่ยนพรรค

             หันมาสังกัดพรรคประชาชาติ ที่มีวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งวันมูหะมัดนอร์ ยังคงมีบารมี
             ไม่น้อยในหมู่ชาวมุสลิมรวมถึงนักการศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวมถึงเขต 8 ของสงขลา

             อัศวิน หวังจะรับอานิสงส์จากความนิยมที่ประชาชนมีต่อวันมูหะมัดนอร์ จะช่วยให้ตนเองมีคะแนนได้
             เนื่องจากลำาพังชื่อเสียงและบารมีของตนเองมีไม่มากนัก อีกทั้งยังเป็นการย้ายเขตเลือกตั้งอีกด้วย แม้ว่า

             จะเป็นเขตเลือกตั้งเดิมของบิดาและพี่ชาย แต่เมื่อไม่ได้ดำาเนินงานทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ความนิยม
             ทางการเมืองก็เสื่อมถอยลงไปมาก นอกจากนั้น การชนะเลือกตั้งของบิดาและพี่ชายในอดีตนั้นก็เป็นผล

             มาจากความนิยมที่ประชาชนมีต่อพรรคประชาธิปัตย์ เป็นปัจจัยหลักมากกว่าความนิยมที่มีต่อตัวบุคคล
             แม้กระทั่งพล.ต.ต.สุรินทร์ ซึ่งลงสมัครส.ว. ชนะเลือกตั้งได้คะแนนสูงสุดของจังหวัดในปี 2549 แต่ในปี

             2550 ลงสมัครส.ส. ในนามพรรคเพื่อแผ่นดินไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์ ก็พ่ายแพ้เลือกตั้งให้กับนาราชา


                      กลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้ง จึงเน้นนโยบายพรรคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นสังคม
             พหุวัฒนธรรมในพื้นที่เพื่อสร้างความสงบ แก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นแม้ว่าในเขต 8 นี้ จะเกิดขึ้น
             ค่อนข้างน้อยก็ตาม ในขณะเดียวกันก็อาศัยฐานเสียงส่วนตัวของบิดาและพี่ชายที่ยังคงหลงเหลืออยู่







             6. การปราศรัยใหญ่



                      งานวิจัยนี้จะกล่าวถึงการปราศรัยใหญ่ที่จัดขึ้นในเขต 1 และเขต 2 ซึ่งเป็นเขตที่มักจะจัดให้
             มีการปราศรัยใหญ่ทุกครั้งในการเลือกตั้งเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเขตอื่นๆ และมักจะมีแกนนำาพรรค

             ซึ่งรวมถึงหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคขึ้นเวทีปราศรัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะพรรคการเมือง

             ขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกและงบประมาณหรือเงินทุนที่ใช้ในการหาเสียงเป็นจำานวนมาก

                      แม้ว่าในโลกยุคปัจจุบันที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางการเมือง

             ทั้งในส่วนของผู้สมัคร และพรรคผ่านสื่อสารมวลชนทั้งสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ตลอดจนสื่อสังคม
             ออนไลน์ที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสื่อสารผ่าน
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119