Page 85 - kpiebook63001
P. 85

67






               มีฐานเสียงในพื้นที่ มักใช้วิธีการวางแผนโดยการประสานงานกับผู้สนับสนุนโดยการกำหนดแผนการลงพื้นที่และ

               ปราศรัยขึ้นอยู่กับความพร้อมของแกนนำในแต่ละพื้นที่อันหมายถึงความเข้มแข็งของฐานความนิยมของ
               ประชาชนในพื้นที่และความกระตือรือร้นของสมาชิกในเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผลจากการเตรียมการ

               และวางแผนที่ดีทำให้ในบางครั้งผู้สมัครสามารถลงพื้นที่และปราศรัยย่อยในพื้นที่ต่างๆ ได้ถึงวันละ 5 หรือ
                             47
               มากกว่า 10 แห่ง  ทั้งนี้ ภาพรวมการปราศรัยของผู้สมัคร พบว่า ไม่มีการโจมตีหรือพาดพิงผู้สมัครคนอื่น ทำให้
               ประชาชนที่ไปร่วมรับฟังไม่มีความอึดอัดใจ
                                                  48

                     นอกจากการเข้าไปในพื้นที่จุดต่างๆ เพื่อให้ไปได้ทั่วถึงในทั้งเขตเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครมักให้ความสำคัญกับ
               การนำเสนอถึงนโยบายที่มีความโดดเด่นของพรรคซึ่งมีความสัมพันธ์กับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

               อีกทั้งยังมีการให้ข้อสังเกตว่า การลงพื้นที่ไม่ใช่เพียงแค่การพบปะหรือสร้างความคุ้นเคยกับประชาชนเท่านั้น
               แต่ผู้สมัครจำเป็นต้องประเมินถึงความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ด้วย ซึ่งผู้สมัครที่มีประสบการณ์ทาง

               การเมืองและมีความเข้าใจในสภาพทางสังคมของพื้นที่ในเขตเลือกตั้งเป็นอย่างดี มักจะเข้าไปหาเสียงซ้ำในพื้นที่
               เดิมหรืออาจมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มหรือให้ความสนใจต่อผู้สมัครหรือพรรค อย่างไรก็ดี ผู้สมัคร
               บางคนให้ข้อสังเกตว่า การไปปราศรัยในหมู่บ้านในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นภาพของการมารอฟัง

               ปราศรัยของประชาชนที่ไม่ได้พบเห็นบ่อยนักเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งที่ผ่านมา 49

                     ในขณะที่ผู้สมัครหน้าใหม่และสังกัดพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีความเห็นว่า ผู้สมัครจำเป็นต้องลงพื้นที่
               ทุกหมู่บ้านในทุกตำบลด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหญ่ ซึ่งมีหัวคะแนนในการช่วย

                         50
               ดำเนินงาน  อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตจากการรับฟังความเห็นของประชาชนว่า ผู้สมัครซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภา
               ผู้แทนราษฎรมักไม่ได้ลงมาเดินพบปะประชาชนตามบ้าน แต่ใช้วิธีการจัดการปราศรัยย่อยในจุดต่างๆ จากนั้น

               จึงนำเสนอภาพลงในสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับพรรคการเมืองขนาดเล็กแล้ว การจัดปราศรับย่อยเป็นจุดต่างๆ
                                                                           51
               ในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงนั้น เป็นไปได้ยากเนื่องจากมีงบประมาณอย่างจำกัด









                     46   ประหยัด รินสาทร, ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.ราชธานี อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (6 เมษายน 2562) และ กันต์
               โชคกลางเดือน, อ้างแล้ว.
               
     47   ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย, อ้างแล้ว นภาพร พวงช้อย, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์,
               สัมภาษณ์ (3 มิถุนายน 2562) และ จิราพร สินธุไพร. ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 5 พรรคเพื่อไทย, สัมภาษณ์
               (8 กรกฎาคม 2562).
               
     48   สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (2 มิถุนายน 2562)

               
     49   นิรมิต สุจารี, อ้างแล้ว.
               
     50   กันต์ โชคกลางเดือน, อ้างแล้ว.
               
     51   ทวีวัชรวงศ์ นาเมืองรักษ์, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 5 พรรคเศรษฐกิจใหม่, สัมภาษณ์
               (26 พฤษภาคม 2562).









                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90