Page 83 - kpiebook63001
P. 83

65






               ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยผู้สมัครใช้ทุนของตัวเองส่วนหนึ่งในการทำสื่อเหล่านี้  นอกจากนี้ยังมีการใช้จ่าย
                                                                                   37
               เป็นค่าโฆษณาในสื่อต่างๆ เช่น โฆษณาสั้นในสถานีวิทยุต่างๆ เป็นต้น ซึ่งทาง กกต.จังหวัด ได้เปิดโอกาสให้
               ผู้สมัครได้จัดส่งเทปเสียงประชาสัมพันธ์ของตนเองมาเผยแพร่ในรายการวิทยุในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ได้ เช่น

               เดียวกับการติดตั้งกระดานสำหรับให้ผู้สมัครติดแผ่นพับหาเสียงตามหน่วยเลือกตั้งต่างๆ ซึ่งมีเพียงผู้สมัครเพียง
                                                             38
               ไม่กี่คนเท่านั้นที่ติดป้ายประชาสัมพันธ์ครบทุกหน่วย  นอกจากนี้แล้วการหาเสียงเลือกตั้งผ่านมา พบว่า
               จดหมายหรือ สื่อสิ่งพิมพ์ ที่ส่งถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรงในแต่ครัวเรือน ไม่ได้รับความนิยมมากนัก


                                                                                              39
                     ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ภาพที่ 3.3  แสดงตัวอย่างเฟซบุคเพจ (Facebook Page)  ของผู้สมัคร
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สมัคร เป็นทั้งพื้นที่

               ในการแนะนำตัว การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นทางสังคมการเมือง การประชาสัมพันธ์ผลงานในอดีตและ
               แนวทางการทำงานหรือนโยบายที่ต้องการผลักดันในอนาคต ตลอดจนนำเสนอความเคลื่อนไหวในการลงพื้นที่

                                                                                              40
               รวมไปถึงการเผยแพร่นโยบายพรรคการเมืองและข่าวสารต่างๆ ที่มีความน่าสนใจในช่วงเวลานั้น  โดยผู้สมัคร
               จะให้ความสำคัญในเรื่องของพื้นที่ในการมองเห็นของผู้ใช้งานที่ครอบคลุมเขตเลือกตั้งและพื้นที่ใกล้เคียง
               มากกว่ายอดจำนวนการกดถูกใจ  41


                                    ภาพที่ 3.3  แสดงตัวอย่างเฟซบุคเพจ (Facebook Page)



               
     36   เงื่อนไขเกี่ยวกับป้ายหาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ (1) ป้ายขนาด A3 ที่เป็นบอร์ดของสถานที่ราชการ อาทิ อำเภอ ศาลากลาง
               จังหวัด โดยแต่ละพรรคจะมีแผ่นป้ายได้จำนวนไม่เกิน 10 เท่าของหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่ง “ค่ากลาง” ของหน่วยเลือกตั้ง
               ในแต่ละเขตจะมี 270 หน่วยเลือกตั้ง เท่ากับพรรคหนึ่งจะมีป้ายหาเสียงไม่เกิน 2,700 แผ่นต่อเขตเลือกตั้ง (2) มีขนาดป้าย 130 X 245 ซม.
               ป้ายที่จะไปติดตามสถานที่ที่ กกต.กำหนด ติดได้ไม่เกิน 2 เท่าของหน่วยเลือกตั้ง หรือ 540 แผ่นต่อเขตเลือกตั้ง (3)ป้ายติดรถหาเสียง
               และป้ายเวทีหาเสียง แล้วแต่ขนาดรถไม่จำกัด และเวทีหาเสียงควบคุมด้วยค่าใช้จ่าย (4)แผ่นป้ายหาเสียง ขนาด 400 X 750 ซม. ติดได้ที่
               ที่ทำการพรรคการเมือง หรือสาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หรือศูนย์อำนวยการการเลือกตั้งได้เขต
               เลือกตั้งละ 1 แห่งต่อ 1 ป้าย อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของป้ายทุกขนาดจะต้องมีแค่ รูปถ่ายผู้สมัคร นโยบาย คำขวัญ ภาพผู้สมัคร หัวหน้า
               พรรค ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ของพรรค และสมาชิกพรรคเท่านั้น บุคคลนอกที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคห้ามเกี่ยว ซึ่งฝ่าฝืนมีโทษ
               ทั้งแพ่ง-อาญา  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “กฎเหล็ก ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง กกต.กทม.ย้ำหนัก ห้ามติดเกาะกลางถนนเด็ดขาด”,
               สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1483265 (20 มีนาคม 2562).

               
     37   กันต์ โชคกลางเดือน,อ้างแล้ว และ ปุณณ์ปวีร์ เขตวิจารณ์,ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 พรรค
               เศรษฐกิจใหม่, สัมภาษณ์ (26 พฤษภาคม 2562).
               
     38   นิรมิต สุจารี,ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคเพื่อไทย, สัมภาษณ์ (28 พฤษภาคม 2562).
               
     39   เฟสบุคเพจ (Facebook Page) มักถูกนำมาใช้งานในเชิงธุรกิจ องค์กร หรือบุคคลสาธารณะ ซึ่งเพจสามารถเพิ่มผู้ดูแล เพื่อ
               ช่วยในการแก้ไขข้อมูล นำเสนอข่าวสารใหม่ และสามารถมีจำนวนผู้ติดตามได้ไม่จำกัด โดยที่ไม่ต้องได้รับการยินยอมหรือขอเป็นเพื่อนกับ
               เจ้าของเพจ ทั้งยังสามารถตั้งข้อความตอบกลับอัตโนมัติได้ รวมทั้งผู้ใช้ยังสามารถทราบผลสถิติต่างๆ เช่น ช่วงอายุ เพศ และภูมิลำเนา
               ของผู้ติดตาม สามารถเผยแพร่ข้อมูลออกไปเป็นวงกว้างและยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเจาะจง  ในขณะที่เฟสบุคส่วนตัว
               (Facebook profile) ที่แม้จะสามารถรับเพื่อนได้จำนวนจำกัดและสามารถมีจำนวนผู้ติดตามได้ไม่จำกัด แต่ผู้ใช้ไม่สามารถตั้งข้อความ
               ตอบกลับอัตโนมัติและทราบสถิติต่างๆ ของผู้ติดตามได้เช่นเดียวกับเฟสบุคเพจ
                     40   กันต์ โชคกลางเดือน, อ้างแล้ว.

               
     41   ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย,อ้างแล้ว.








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88