Page 60 - kpiebook63001
P. 60

42






                     (3) เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ต้องพัฒนารูปแบบ

               การเลือกตั้งให้ทันสมัย เช่น แอปพลิเคชั่นในการตรวจสอบสิทธิของตนเอง โดยเฉพาะอย่างการพัฒนาการตรวจสอบ
               และเฝ้าระวังการใช้เทคโนโลยี การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในสังคมออนไลน์


                     แม้ในช่วงของการไม่มีการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะได้มีการทำ
               บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               (กศน.) จังหวัดร้อยเอ็ด และกระทรวงมหาดไทยในการจัดทำศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยระดับตำบล ซึ่งมีสมาชิก
               ของศูนย์มาจากแต่ละตำบล ๆ ละ 1 คน ซึ่งถือเป็นเครือข่ายการทำงานสำคัญในการประชาสัมพันธ์และ
               เผยแพร่ความรู้ นอกจากนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยังทำความร่วมมือกับองค์กร

               เอกชนและสื่อมวลชน ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ทางสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค (Facebook) และเว็บไซต์
               ของสำนักงาน รวมทั้งกลุ่ม Line ของสำนักงานฯ  11

                     ลักษณะที่แตกต่างจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา คือ ไม่มีการจัดเวทีปราศรัยกลาง

               ให้แก่ผู้สมัคร รวมทั้งการเข้ามามีบทบาทองค์กรเอกชนหรืออบรมอาสาสมัครสังเกตการณ์การเลือกตั้ง
               ที่ดำเนินการโดย กกต.  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เคยมีในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในขณะที่ในส่วนของการจัดการเลือกตั้ง

               มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีทั้งในการจัดเตรียมข้อมูล สถานที่และขั้นตอนการลงคะแนน โดยได้รับ
               ความร่วมมือจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง รวมทั้งนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) และ ลูกเสืออาสา
               กกต. ในการเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งถือเป็นการสร้างกลไกได้ในการช่วยดำเนินการจัดการเลือกตั้งได้เป็น

                     12
               อย่างดี
                     นอกจากนี้ ข้อสังเกตประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดในการจัดการเลือกตั้งภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ก็คือ

               บทบาทของราชการในส่วนภูมิภาคมีมากขึ้นในช่วงของการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง โดยสำนักงาน
               คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้ประสานและขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่างๆ ในการทำงาน

               ดังจะเห็นได้จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการจัดการการเลือกตั้ง ส่วนกรรมการ
               หน่วยเลือกตั้งก็ยังเน้นไปที่กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยถือเป็นหนึ่งในกลไกหลัก
               ที่เข้ามามีบทบาทในการจัดการการเลือกตั้ง ซึ่งการดำเนินการจัดการการเลือกตั้งดำเนินการไปตามแบบ

               แผนเดิม แต่มีข้อพึงพิจารณาและทบทวนการทำงานภายใต้คำสั่งและนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการ
               การเลือกตั้งจากส่วนกลาง ที่เป็นคณะกรรมการชุดใหม่และยังอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่
                                                                                        13

                     นอกจากนี้แล้ว ในด้านภาพรวมของการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและ
               ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการฝ่ายปกครอง ได้แก่ นายอำเภอและ

               ปลัดอำเภอ จำนวน 18 คน รองลงมา คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เช่น ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง  ปลัดเทศบาล


               
     11   กังวาน จันทร์หนองสรวง, อ้างแล้ว และ จิรวรรณ สิทธิศักดิ์, ประธานผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์
               (31 พฤษภาคม 2562).
               
     12   เลิศบุศย์ กองทอง, อ้างแล้ว

               
     13   กังวาน จันทร์หนองสรวง ,อ้างแล้ว.







                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65