Page 55 - kpiebook63001
P. 55

37






                     แม้จะมีกระแสข่าวและข้อวิจารณ์ต่อการขยายเวลาประกาศการกำหนดเขตเลือกตั้งและรูปแบบ

                                                                                       4
               การแบ่งเขตเลือกตั้งในหลายจังหวัดว่าเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรคพลังประชารัฐก็ตาม  แต่ความคิดเห็นของ
               ผู้สมัครที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่ผ่านมา รวมทั้งผู้สมัครหน้าใหม่ที่ใช้ฐานเสียงเดิมมีความเห็น

               ต่อการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่มีผลต่อการหาเสียงเพียงแต่ก็ต้อง
                                                           5
               วางแผนในการลงพื้นที่ในส่วนที่เพิ่มขึ้นมามากยิ่งขึ้น  เช่นเดียวกับผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยที่มีความเห็นว่า
               การแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังตารางที่ 3.2 เป็นการออกแบบที่ครอบคลุมพื้นที่ที่เน้นให้รวมอำเภอเป็นหนึ่งเขต

               เลือกตั้ง โดยคำนึงถึงลักษณะพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน ทำให้การวางแผนและการทำงานที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่
                                   6
               มีประสิทธิภาพมากขึ้น   โดยผู้สมัครหน้าใหม่มองว่าการแบ่งเขตไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการแนะนำตัวหรือ
               หาเสียงแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการลงสมัครครั้งแรกและมาจากพรรคการเมืองใหม่ แต่ก็มีความท้าทาย
               มากขึ้นเมื่อลงสมัครในเขตที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ที่ตนเองมีญาติพี่น้องหรือเคยทำกิจกรรมทางการเมืองมาก่อน 7
               อย่างไรก็ดี ในทัศนะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ

               เลือกตั้ง มองว่า การที่บางพื้นที่ถูกจัดแบ่งใหม่ ออกเป็นหลายเขตเลือกตั้ง เช่น กรณีอำเภอธวัชบุรี ทำให้เกิด
               ความสับสนแก่ประชาชนในช่วงแรก แต่การติดป้ายหาเสียง และ การจัดเวทีปราศรัยย่อย ซึ่งผู้สมัครจะอธิบาย

               เรื่องเขตเลือกตั้งและวิธีการลงคะแนนให้ประชาชนได้เข้าใจ ก็เป็นส่วนที่ทำให้สร้างความเข้าใจและการตื่นตัว
               ได้เป็นอย่างดี
                          8


               3.2  บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

                      ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด





                     บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ในช่วงระยะเวลาก่อนมีการประกาศ
               ให้มีการจัดการเลือกตั้ง และในช่วงการจัดการเลือกตั้ง รวมถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง จากตารางที่ 3.3

               เห็นได้ว่า กิจกรรมในภาพรวมเน้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ ซึ่งมีการดำเนินงานมาตั้งแต่
               ในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้ง



               
      4   “สุวิทย์ ปัด ม.44 ยืดแบ่งเขตเลือกตั้ง เอื้อพลังประชารัฐ ชี้เดากันไปเอง”, สืบค้นจาก https://www. thairath.co.th/
               news/politic/1423166 (10 มกราคม 2562).

               
      5   ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ, สัมภาษณ์ (18 เมษายน
               2562).
               
      6   จิราพร สินธุไพร, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 5 พรรคเพื่อไทย, สัมภาษณ์ (8 กรกฎาคม 2562).
               
      7   จำรัส สรสาร, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 2  พรรคอนาคตใหม่, สัมภาษณ์ (20 พฤษภาคม 2562)
               และ ทวีวัชรวงศ์ นาเมืองรักษ์, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 5 พรรคเศรษฐกิจใหม่, สัมภาษณ์ (26 พฤษภาคม
               2562).
               
      8   ประหยัด รินสาทร, ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.ราชธานี อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (6 เมษายน 2562).








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60