Page 13 - kpiebook62011
P. 13
รัฐธรรมนูญ เหตุแห่งการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (1) การอันเป็นสาธารณูปโภค
(2) การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ
(3) การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ
(4) การผังเมือง
(5) การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(6) การพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม
(7) การปฏิรูปที่ดิน
(8) ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (1) การอันเป็นสาธารณูปโภค
(2) การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ
(3) การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ
(4) การผังเมือง
(5) การส่งเสริมและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(6) การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม
(7) การปฏิรูปที่ดิน
(8) การอนุรักษ์สาธารณะอย่างอื่น
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (1) การอันเป็นสาธารณูปโภค
(2) การป้องกันประเทศ
(3) การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ
(4) ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
ที่มา: สรุปโดยคณะผู้วิจัย
3. การกำหนดให้รัฐชดใช้ค่าทดแทน
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่รับรอง
การใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐชดใช้ค่าทดแทน
ตามมาตรา 34 ดังนี้ (เน้นคำโดยคณะผู้วิจัย)
“...และต้องชดใช้ค่าทำขวัญอันเป็นธรรมแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วย
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นด้วย”
คำว่า “ค่าทำขวัญ” ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น
คำว่า “ค่าทดแทน” ตามมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม
พุทธศักราช 2495 ดังนี้ (เน้นคำโดยคณะผู้วิจัย)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530