Page 150 - kpiebook62009
P. 150

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                  T-score การประเมินขั้นต้น (2) คะแนน T-score ความพึงพอใจ (3) คะแนน T-score การสนทนากลุ่ม

                  โดยนำคะแนนทั้ง 3 ส่วนไปพิจารณาให้น้ำหนัก (Weight) รายละเอียดในตารางที่ 3.4


                  ตารางที่ 3.4


                  เกณฑ์การประเมินผลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 ประเภทรางวัล

                      ประเภท                       เกณฑ์การประเมิน 3 ส่วน                    คะแนนรวม

                   องค์กรปกครอง       ค่า T-score        ค่า T-score        ค่า T-score
                    ส่วนท้องถิ่น   การประเมินขั้นต้น    ความพึงพอใจ         สนทนากลุ่ม

                                       (ร้อยละ)           (ร้อยละ)           (ร้อยละ)

                  อบจ.                    40                 30                 30              100

                  อบต.                    40                 30                 30              100
                  เทศบาล                  40                 30                 30              100



                                จากตารางที่ 3.4 จะเห็นว่า เกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครอง
                  ส่วนท้องถิ่นที่สมัครในทั้ง 3 ประเภทรางวัลใช้เกณฑ์เดียวกัน โดยจากคะแนน 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่

                  หนึ่งคือ ค่าคะแนนจากใบสมัครตามกรอบเกณฑ์ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานและขั้นพัฒนาแปลงเป็นค่าคะแนน

                  ร้อยละ 40 ส่วนที่สองคือ ค่าคะแนนจากแบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชน ร้อยละ 30 และส่วนที่
                  สามคือ ค่าคะแนนจากการสนทนากลุ่ม ร้อยละ 30

                                ซึ่งผลการจัดอันดับคะแนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในขั้นนี้นำเสนอ เพื่อ

                  การตรวจสอบความเหมาะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ที่สมควรได้รับรางวัล) ในขั้นที่ 4 ให้
                  คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศในแต่ละประเภทรางวัลเพื่อรับ

                  รางวัลพระปกเกล้า และตรวจสอบความเหมาะสมต่อไป

                                การประเมินความพึงพอใจและความน่าเชื่อถือไว้วางใจของประชาชน
                                สำหรับการประเมินด้านความพึงพอใจและความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อ

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการสำรวจภาคสนามโดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม

                  ประเมินความพึงพอใจและความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชน และดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามจาก
                  กลุ่มตัวอย่างประชากรในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งใน 3 ประเภทรางวัลใช้รูปแบบการเก็บข้อมูล

                  แบบเดียวกัน ดังนี้










                                                            109
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155