Page 148 - kpiebook62009
P. 148
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
ตารางที่ 3.3
ประเภทที่ 3 รางวัลที่มีความเป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม กำหนด
สัดส่วนคะแนนของแต่ละหมวด
หมวดที่ สัดส่วนคะแนน
(ร้อยละ)
(1) ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน 20
(2) การจัดการองค์กรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม 15
(3) การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ 10
(4) การส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน 10
(5) การดำเนินโครงการ/เครือข่าย ความร่วมมือระหว่าง รัฐ เอกชนและประชาสังคม 45
ที่เป็นเลิศ
โดยในขั้นแรกเป็นการพิจารณาใบสมัครและเอกสารที่แนบมาพร้อมใบสมัครขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแยกตามประเภทรางวัล ทั้งระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหาร
ส่วนตำบล (อบต.) และระดับเทศบาล (ใบสมัครปรากฏในภาคผนวกที่ 1 ถึง 6) ซึ่งใบสมัครแต่ละประเภท
รางวัล มีการกำหนดตัวชี้วัดที่ใช้ในการพิจารณาการให้คะแนนแบ่งเป็นตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (AuditIndicators)
และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา (Performance Indicators)
การดำเนินการในขั้นต้นนี้ เป็นการพิจารณา 2 ขั้นตอน คือ
1) การพิจารณาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเกณฑ์ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (Audit
Indicators) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักที่บ่งบอกถึงภารกิจกิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกระทำหรือ
ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ไม่มีการปฏิบัติตามตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน
ตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ถือได้ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในขั้นต้น
2) การพิจารณาเพื่อให้ค่าคะแนนทั้งตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (Audit Indicators) และตัวชี้วัด
ขั้นพัฒนา (Performance Indicators)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินตามตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานแล้วได้นำมา
พิจารณาให้ค่าคะแนนตามกรอบของเกณฑ์ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (Audit Indicators) และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา
(Performance Indicators) ซึ่งค่าคะแนนที่ได้ทั้งหมดถูกนำมารวมกัน แล้วจึงแปลงค่าคะแนนเป็นค่า
T-score ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์คะแนนในขั้นที่ 1 ต้องมีคะแนน T-score ตามที่
กำหนดไว้ ดังนี้
107