Page 7 - b30427_Fulltext
P. 7
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎหมายกีฬาในประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่นและ
สหรัฐอเมริกาด้วยการมองขอบเขตของหลักกฎหมายที่สร้างธรรมาภิบาลกีฬาที่มี
ความสำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบกฎหมายอังกฤษ ญี่ปุ่นและ
สหรัฐอเมริกา ได้มีกฎหมายกีฬาบัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนแล้ว
กฎหมายกีฬาที่บัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นว่านี้ถูกนำเอามาวิเคราะห์เพื่อนำ
ไปสู่การบูรณาการและเสริมสร้างกฎระเบียบที่ส่งเสริมการแข่งขันกีฬา การดำเนิน
กิจกรรมกีฬาและการปฏิบัติทางการกีฬาให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม กฎหมายกีฬา
เป็นหนึ่งในสาขาวิชานิติศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปถึงการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา
ในยุคใหม่ ซึ่งว่าด้วยเรื่องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการกีฬาพึงเข้าไปมีส่วนทำให้หลักการ
แข่งขันที่เป็นธรรมถูกนำมาใช้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขันในทุกชนิดกีฬาอันนำไปสู่
การส่งเสริมความเท่าเทียมในด้านโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
เหตุนี้เองหน่วยงานด้านกีฬาของรัฐและองค์กรกำกับกีฬาจึงต้องเข้ามาส่วนผลักดัน
ให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ การศึกษาเชิงกฎหมาย
เปรียบเทียบย่อมทำให้เกิดการศึกษากฎหมายกีฬาระดับชาติที่มีส่วนสัมพันธ์กับสังคม
เศรษฐกิจและบูรณาภาพทางการกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นทางกฎหมาย
ในแต่ละประเทศ ทั้งที่ประเทศไทยได้เคยมีการจัดทำบทบัญญัติทางกฎหมายกีฬา
ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬา
อาชีพ พ.ศ. 2556 และพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
แต่กลับพบว่ามีกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันมีขอบเขตที่จำกัด งานวิจัยฉบับนี้
จึงชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของกฎหมายกีฬาที่เกิดขึ้นในระบบกฎหมายไทย โดยใช้วิธีการ
ศึกษากฎหมายกีฬาเปรียบเทียบทั้งในระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศเพื่อนำไปสู่
การแสวงหาทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายกีฬาที่เกิดขึ้น ผ่านการเปรียบเทียบ
ข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายกีฬาระดับชาติ
คำสำคัญ : กฎหมายกีฬา, กฎหมายเปรียบเทียบ, ระบบกฎหมาย, ธรรมาภิบาลกีฬา
VI
สถาบันพระปกเกล้า